การตรวจสอบค่าการเสียรูปในโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

ต่อเนื่องจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมเคยได้นำเอาเรื่องชนิดของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณมาทำการอธิบายให้กับเพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าจะประกอบไปด้วยประเภทของเหล็กกี่ประเภท ซึ่งผมได้ทำการให้คำอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างให้ไปเป็นที่เรียบร้อย ปรากฏว่าน้องท่านเดิมนี้ก็สอบถามผมเข้ามาเพิ่มเติมว่า เพราะเหตุใดเวลาที่ทำการออกแบบโครงสร้างเหล็ก เราจึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบค่าการเสียรูปด้วยแล้วเหตุใดเวลาที่ทำการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เราจึงไม่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบค่าการเสียรูป ?

ตอนแรกที่ผมได้ยินคำถามๆ นี้ผมก็ตกใจพอสมควรเพราะผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า น้องท่านนี้รวมถึงเพื่อนๆ หลายๆ คนในเพจของเรานี้อาจจะยังขาดความเข้าใจในเรื่องหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบที่ต้องถือว่ามีความสำคัญมากๆ ประการหนึ่งไป เอาเป็นว่าในทุกๆ วันอังคารต่อไปอีกประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์นับจากนี้ ผมจะขอนำเอาประเด็นๆ นี้มาอธิบายและทำการขยายความให้แก่เพื่อนๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนะครับ

ก่อนอื่นผมจะต้องขออธิบายให้เข้าใจกันก่อนว่า หากน้องหรือเพื่อนๆ ท่านหนึ่งท่านใดจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบหรือผู้ทำการก่อสร้างอาคารในโครงการใดๆ ก็ตามแต่ ไม่ว่าเราจะทำการออกแบบหรือก่อสร้างงานโครงสร้างที่ทำจากวัสดุใดๆ ก็ตาม เช่น เหล็กรูปพรรณ คอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง เป็นต้น เราจะละเลยในขั้นตอนของการตรวจสอบหาค่าการเสียรูปของโครงสร้างไม่ได้โดยเด็ดขาด ไม่ว่าโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างขึ้นนั้น จะถูกทำขึ้นจากวัสดุๆ ก็ตาม อันนี้คือหัวใจสำคัญ เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างจริงๆ ของกรณีของงานก่อสร้างที่ได้ทำการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่ได้มีการทำการตรวจสอบค่าการเสียรูปที่ดีเพียงพอ ดูรูปประกอบได้เลยนะครับ

ขอให้สังเกตโถงทางเดินของอาคารซึ่งก่อสร้างขึ้นจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กดังรูป (ผมจะขอปกปิดชื่อของอาคาร โดยที่จะไม่ขอเปิดเผยว่าเป็นอาคารหลังนี้ที่ตั้งอยู่ในที่แห่งใดนะครับ) เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าพื้นของโครงสร้างในรูปนี้จะเกิดการแอ่นตัวหรือที่ชาวบ้านมักจะเรียกด้วยภาษาชาวบ้านว่าโครงสร้างนั้นเกิดการ “ตกท้องช้าง” ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นต้องนำเอากล้องระดับมาตรวจวัดเพราะเพียงแค่สังเกตหรือมองเห็นด้วยตาเปล่าก็จะสามารถมองเห็นถึงความผิดปกติดังกล่าวได้เลยนะครับ

หากว่าตอนที่ได้ทำการออกแบบหรือว่าก่อสร้างงานโครงสร้างนั้นทางผู้ออกแบบหรือผู้ทำการก่อสร้างมีความรู้ ความเข้าใจ ความรอบคอบหรือมีความช่างสังเกตสักหน่อย ก็น่าที่จะสามารถออกแบบโดยการคำนวณหรืออย่างน้อยก็ต้องสามารถที่จะทำการคาดคะเนหรือมองเห็นถึงลักษณะของการเสียรูปของโครงสร้างในลักษณะนี้ได้เพราะจริงๆ แล้วลักษณะของโครงสร้างที่มีความต่อเนื่องมากๆ เหมือนกันกับกรณีในรูปๆ นี้ จะมีโอกาสที่จะเกิดการเสียรูปเหมือนเช่นในกรณีได้ยากมากๆ เลย ซึ่งตัวอย่างในวันนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการที่ขาดความใส่ใจหรือละเลยหรือไม่สนใจค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเพียงหนึ่งกรณีเท่านั้นนะครับ

เอาเป็นว่าในสัปดาห์ต่อๆ ไปผมจะขอหยิบยกและนำเอาประเด็นของความรู้เรื่องเหตุใดจึงต้องทำการตรวจสอบค่าการเสียรูปในโครงสร้างชนิดต่างๆ นี้เพื่อมาทำการอธิบายเพื่อประกอบเป็นความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนก็แล้วกัน หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในบทความๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้ในโอกาสหน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#ความรู้เรื่องเหตุใดจึงต้องทำการตรวจสอบค่าการเสียรูปในโครงสร้าง

#ตอนที่1

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com