การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดิน ในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

หลังจากที่ผมได้พูดและอธิบายถึงเรื่องค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินหรือว่าค่า Esoil จบไปก่อนหน้านี้แล้ว อีกทั้งเรายังออกนอกเรื่องไปอีกสองสัปดาห์ด้วย ผมคิดว่าวันนี้เราน่าจะกลับเข้าสู่เรื่องที่ผมกำลังอธิบายค้างเพื่อนๆ อยู่จะดีกว่านั่นก็คือ การคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้น ซึ่งพวกเราทุกคนก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสำหรับฐานรากประเภทนี้ตัวโครงสร้างของฐานรากเองนั้นจะมีความยืดหยุ่นตัวหรือพูดง่ายๆ ก็คือ สามารถที่จะมีการเคลื่อนตัวได้

 

ซึ่งหากผมจะทำการผนวกเอาวิชาทางด้านวิศวกรรมฐานรากตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION ENGINEERING เข้ากันกับทฤษฎีของโครงสร้างหรือ THEORY OF STRUCTURES เพื่อนๆ ก็น่าที่จะยังพอจำกันได้ว่า เราสามารถที่จะทำการแทนให้แรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับของฐานรากประเภทนี้อยู่ในรูปแบบของแรงลัพธ์ที่เกิดจากสปริงที่มีความยืดหยุ่นตัวหรือว่า ELASTIC SPRING ได้ ซึ่งแรงลัพธ์ของสปริงที่มีความยืดหยุ่นตัวนี้จะสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 แรงหลักๆ ด้วยกันซึ่งก็ได้แก่

 

  1. แรงลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบของสปริงในแนวดิ่งที่ตั้งฉากกันกับจุดรองรับหรือ AXIAL FORCE-VERTICAL SPRING

 

  1. แรงลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบของสปริงในแนวราบที่วางตัวขนานไปกับจุดรองรับหรือ AXIAL FORCE-HORIZONTAL SPRING

 

  1. แรงลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบของสปริงที่จะดัดรอบตัวของจุดรองรับหรือ MOMENT FORCE-ROTATIONAL SPRING

 

ทั้งนี้การจะทำให้จุดรองรับของเรานั้นมีพฤติกรรมที่สามารถจะรับแรงปฏิกิริยา ณ จุดรองรับได้ครบทั้ง 3 แรงข้างต้นได้หรือไม่ ก็จะขึ้นอยู่กับค่าความแข็งแกร่งหรือว่าค่า STIFFNESS ของจุดรองรับแต่ละตัว ซึ่งก็จะสามารถทำการแบ่งออกได้เป็น 4 ปัจจัยหลักๆ ว่าจะมีสภาพเป็นเช่นใด นั่นก็คือ

 

ปัจจัยที่ 1 ดินที่อยู่ใต้โครงสร้างฐานรากของเรานั้นจะต้องมีคุณสมบัติทางด้านความแข็งแรงต่อการรับน้ำหนักที่มากเพียงพอ

 

ปัจจัยที่ 2 การให้รายละเอียดของเหล็กเสริมภายในโครงสร้างฐานรากและตอม่อจะต้องมีความถูกต้องและมีปริมาณที่มากเพียงพอ

 

ปัจจัยที่ 3 ฐานรากของเรานั้นจะต้องมีขนาดของ ความหนา ของตัวฐานรากหรือว่าค่า T ที่มากเพียงพอ

 

ปัจจัยที่ 4 ฐานรากของเรานั้นจะต้องมีขนาดของ ความกว้าง ของตัวฐานรากหรือว่าค่า B ที่มากเพียงพอ

 

ที่ผมกล่าวเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าหลายๆ ครั้งเราจะพบได้ว่า พอวิศวกรมีความต้องการที่จะทำการจำลองและออกแบบโครงสร้างฐานราก เราก็มักที่จะลงมือทำการจำลองให้จุดรองรับของเรานั้นเป็นไปตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งข้างต้นในทันที โดยที่เรามักจะหลงลืมไม่ทำการตรวจสอบดูให้ดีและละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อนว่าฐานรากของเรานั้นจะมีปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นเป็นอย่างไร

 

ซึ่งวิธีในการที่วิศวกรจะทำการตรวจสอบดูว่าปัจจัยทั้ง 4 นั้นเป็นอย่างไร ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น เครื่องมือที่เราใช้ในการทำงานออกแบบ ประสบการณ์ในงานออกแบบของวิศวกรท่านนั้นๆ มาตรฐานในงานออกแบบที่ยึดถือและนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ เป็นต้น

 

ดังนั้นข้อแนะนำของผมก็คือ เวลาที่เราจะเลือกทำการจำลองจุดรองรับของโครงสร้างให้เป็นแบบใด เราจะต้องทำการพิจารณาด้วยเสมอว่าสุดท้ายแล้วปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร เช่น หากเราเริ่มต้นทำการจำลองให้จุดรองรับของเรานั้นมีสปริงครบทั้ง 3 ตัว แต่ภายหลังจากขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างเสร็จสิ้นลงไปแล้ว พอเรามาทำการตรวจสอบดูแล้วก็พบว่า โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีค่า T และ/หรือค่า B ที่น้อยจนเกินไป นั่นก็อาจจะทำให้เราต้องทำการแก้ไขลักษณะของ BOUNDARY CONDITIONS ของเราเสียใหม่ให้ถูกต้องเสียก่อน จากนั้นเราก็ค่อยวนกลับไปทำการวิเคราะห์โครงสร้างใหม่อีกรอบหนึ่งเพื่อดูซิว่าผลตอบสนองจริงๆ ของโครงสร้างของเรานั้นจะมีพฤติกรรมต่างๆ เป็นเช่นใด เช่น ค่าการกระจายตัวซ้ำของแรงต่างๆ หรือ FORCE RE-DISTRIBUTION ภายในชิ้นส่วนของโครงสร้างต่างๆ ซึ่งจะรวมไปถึงจุดรองรับของเราด้วยว่าเป็นเช่นใดกันแน่ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้สามารถทำการออกแบบและกำหนดให้รายละเอียดต่างๆ ของโครงสร้างทุกๆ ส่วนนั้นมีความถูกต้อง ประหยัดและมีความปลอดภัยมากที่สุดนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้นครั้งที่5

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com