ตัวอย่าง รายการคำนวณในหัวข้อ STRENGTH AND SERVICEABILITY DESIGN OF TYPICAL RC BEAM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมนำ ตย รายการคำนวณในหัวข้อ STRENGTH AND SERVICEABILITY DESIGN OF TYPICAL RC BEAM เพราะ เมื่อหลายวันก่อนมีเพื่อนวิศวกรรุ่นพี่ที่นิสัยดีมากๆ ท่านนึงได้สอบถามมาหลังไมค์เกี่ยวกับเรื่อง LC สำหรับการคำนวณและออกแบบในเรื่อง STRENGTH และ SERVICE ของโครงสร้างกับผมมาหลังไมค์ ผมคิดว่าน่าที่จะมีประโยชน์จึงได้นำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านด้วยในวันนี้นะครับ

ผมได้อธิบายในเบื้องต้นไปว่า สาเหตุที่เราใช้ SERVICE LC ในการคำนวณค่า MAXIMUM DISPLACEMENT เพื่อควบคุมค่าพิกัดการแอ่นตัวไม่ให้เกินไปจากค่า ALLOWABLE DISPLACEMENT ก็เพราะว่าที่ LC นี้เป็นค่า MAXIMUM สำหรับกรณีทั่วๆ ไปที่ผู้ใช้งานโครงสร้างอาจกระทำต่อตัวโครงสร้าง ดังนั้นหากที่สภาวะนี้เกิดการแอ่นตัวที่มากจนเกินไปเราอาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ยิ่งเมื่อผลกระทบจากการแอ่นตัวนี้ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างใกล้เคียงกันด้วย ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบนี้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ใต้คาน คสล มีผนังก่ออิฐอยู่ หากผู้ออกแบบไม่ควบคุมค่าการแอ่นตัวให้อยู่ในพิกัดที่ยอมให้ คานก็อาจเกิดการแอ่นตัวจนไปทับบนผนังก่ออิฐนี้จนแตกและร้าวได้ เป็นต้นครับ

ซึ่งสาเหตุที่เราเลือก FACTORED LC ให้เป็น LC ที่เราทำการออกแบบ STRENGTH ของคานก็เพราะ CODE ได้เลือก LOAD FACTOR ที่มีความเหมาะสมให้ใช้งานผ่านกระบวนการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมแล้ว ทำให้วิศวกรผู้ออกแบบเชื่อมั่นได้ว่าโครงสร้างจะมีความปลอดภัยเพียงพอ (RELIABILITY) ซึ่งการที่เราไม่ใช้ LC นี้เพื่อควบคุมระยะการแอ่นตัวก็เพราะว่าที่สภาวะนี้เป็นสภาวะที่โครงสร้างเข้าใกล้สภาวะสูงสุด โดยอาจเกิดจากการใช้งานโครงสร้างผิดประเภท หรือ เข้าใกล้ที่สภาวะประลัย (นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมในอดีตวิธีการออกแบบโครงสร้าง คสล ด้วยวิธีการนี้ถึงได้ทำการตั้งชื่อวิธีการนี้ว่า ULTIMATE METHOD ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเชื่อเป็น STRENGTH METHOD เพื่อความเหมาะสมที่มากยิ่งขึ้นในหลายๆ ด้าน) ซึ่งใน LC นี้ผู้ออกแบบจึงสนใจขอเพียงแค่ให้โครงสร้างไม่วิบัติแบบทันทีทันใดโดยที่ส่งสัญญาณเตือนต่อผู้ใช้งานโครงสร้างถึงสัญญาณการกำลังจะเกิดการวิบัติของโครงสร้างก็ถือว่าดีเพียงพอแล้ว

ดังนั้นเวลาที่เราออกแบบโครงสร้างเราจึงควรต้องพิจารณาให้โครงสร้างผ่านทั้ง SERVICEABILITY CONDITION และ STRENGTH CONDITION ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างมีการใช้งานที่ดีเพียงพอ
ในโจทย์ข้อนี้ผมยก ตย กรณีที่เราออกแบบคานรับแรงดัดและตรวจสอบค่าการแอ่นตัว โดยผมเปรียบเทียบให้เห็นถึงการใช้ค่าพิกัด EFFECTIVE INERTIA ที่กล่าวไว้ใน DPT CODE (มยผ) สำหรับกรณีที่เราไม่ทราบหรือไม่มีการคำนวณค่าจริงๆ ออกมา กับวิธีการคำนวณโดยละเอียดซึ่งจะยุ่งยากและมีขั้นตอนที่ค่อนข้างจะมีความละเอียดมากๆ (ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้เขียนโปรแกรมตรวจสอบค่า EFFECTIVE INERTIA ในเครื่อง TI-92 Plus เพื่ออำนวยความสะดวกในการคำนวณก็เลยช่วยทำให้การคำนวณสั้นลงไปมาก)

จะเห็นได้ว่าหากใช้ค่า EFFECTIVE INERTIA ตาม CODE จะให้ผลที่ค่อนข้างจะ CONSERVATIVE มากๆ ดังนั้นจึงพอจะสรุปได้ว่า หากเราทำการออกแบบโครงสร้างโดยพิจารณาค่า MINIMUM DEPTH ตาม CODE ไม่ว่าจะเป็น EIT หรือ ACI ก็แล้วแต่ ก็เป็นการป้องกันเรื่องการแอ่นตัวได้ดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว และการพิจารณาตรวจสอบพิกัดการแอ่นตัวของโครงสร้างโดย DPT CODE ก็จะทำให้โครงสร้างมีความแข็งแกร่งและทนทาน (DURABILITY) ต่อการแอ่นตัวสูงขึ้นอีกด้วย
ไว้พบกันตอนอบรมนะครับพี่แขก ยังไงระหว่างนี้ทบทวนเนื้อหาไปก่อนนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com