การทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้ทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้นั้นง่ายมากๆ เลยนะครับ นั่นก็คือ

จากรูปแสดงลักษณะของชั้นดินที่ได้จากการทำการทดสอบคุณสมบัติของดินในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง หากเราทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ และ จะทำการกำหนดว่าระบบฐานรากในการก่อสร้างอาคารหลังนี้จะใช้เป็นระบบ เสาเข็มยาว และ เราจะทำการเลือกวางปลายเสาเข็มให้อยู่ที่ระดับความลึกเท่ากับ 24 เมตร คำถามก็คือ ในการออกแบบแรงกระทำจากแผ่นดินไหว เราจะต้องใช้ค่า S หรือ ค่าสัมประสิทธิ์ผลของชั้นดิน เท่ากับเท่าใด ?

#โพสต์ของวันเสาร์

#การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์

#การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ผลของชั้นดินเพื่อนำไปใช้คำนวณออกแบบแรงกระทำจากแผ่นดินไหวจากผลการทดสอบคุณสมบัติของดิน

 

เฉลย

จากรูปแสดงลักษณะของชั้นดินที่ได้จากการทำการทดสอบคุณสมบัติของดินในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง หากเราทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ และ จะทำการกำหนดว่าระบบฐานรากในการก่อสร้างอาคารหลังนี้จะใช้เป็นระบบ เสาเข็มยาว และ เราจะทำการเลือกวางปลายเสาเข็มให้อยู่ที่ระดับความลึกเท่ากับ 24 เมตร คำถามก็คือ ในการออกแบบแรงกระทำจากแผ่นดินไหว เราจะต้องใช้ค่า S หรือ ค่าสัมประสิทธิ์ผลของชั้นดิน เท่ากับเท่าใด ?

 

หากเพื่อนๆ ลองย้อนไปอ่านบทความของผมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็จะพบว่า ตอนที่ผมได้ทำการอธิบายถึงเรื่องค่า สัมประสิทธิ์ผลของชั้นดิน กฎกระทรวงได้ทำการกำหนดให้การรับ นน ความต้านทาน ความคงทน ของอาคาร และ พื้นดิน ที่ทำหน้าที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พศ 2550 ได้กำหนดให้ผู้ออกแบบใช้ค่าตัวคูณ S ที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะของชั้นดินที่ตั้งของอาคาร โดยที่ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1.00 สำหรับหิน 1.20 สำหรับดินแข็ง 1.50 สำหรับดินอ่อน และ 2.50 สำหรับดินอ่อนมาก ดังนั้นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะทำการกำหนดใช้ค่า S ในการคำนวณคือ เราต้องจำแนกประเภทของดินที่อยู่ใต้อาคารของเราออกมาให้ได้ว่าเป็นดินประเภทใดกันแน่นั่นเองนะครับ

 

เอาละ หากเรามาดูข้อมูลจากรูปการ ทดสอบดิน หรือ SOIL BORING ที่ผมได้แนบให้เพื่อนๆ ดูไปเมื่อวันก่อนก็จะพบว่าหากเราจะทำการเลือกวางปลายเสาเข็มให้อยู่ที่ระดับความลึกเท่ากับ 24 เมตร ซึ่งที่ระดับนี้ชั้นดินถูกจัดอยู่ในประเภท ชั้นดินเหนียวแข็งมากถึงดาล แต่ หากผมจะบอกกับเพื่อนๆ ว่าที่ชั้นดินชั้นนี้ ไม่ใช่ชั้นดินที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่เราจะนำมาพิจารณาในการออกแบบค่า S นะครับ

 

เพื่อนๆ งงกันหรือไม่ครับ ?

 

ถูกต้องครับ ที่ชั้นดินที่ความลึก 24 เมตร นั้นเป็นชั้นดินที่ปลายของเสาเข็มนั้นถูกวางตัวอยู่จริง แต่ สิ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากที่สุด ที่เราจะนำมาพิจารณาในการออกแบบค่า S จริงๆ คือ ประเภทชนิดของชั้นดินโดยเฉลี่ยตลอดทั้งความยาวของโครงสร้างเสาเข็ม นั่นเป็นเพราะในการพิจารณาค่า S ตามกฎกระทรวงนั้น เป็นการคำนวณค่า แรงกระทำจากแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นใน พื้นโลก ซึ่งกำลังจะถูกถ่ายเทเข้าสู่ตัว โครงสร้างของอาคาร ดังนั้นเราจะพิจารณาชนิดของดินที่เฉพาะปลายของเสาเข็มเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งหากดูจากตารางชนิดของดินจากผลการทดสอบชั้นดิน เราจะพบว่า ตั้งแต่ระดับความลึก 0 ถึง 13 เมตร เราอาจจะสามารถทำการจำแนกชนิดของชั้นดินได้ว่าเป็น ดินเหนียว แบบ อ่อนมาก ถึง อ่อน โดยที่ระดับความลึกตั้งแต่ 13 เมตร ลงไป เราก็อาจจะสามารถทำการจำแนกชนิดของดินได้ว่าเป็น ดินเหนียว แบบ แข็งน้อย ถึง แข็งปานกลาง นะครับ

 

หากดูดีๆ เราจะพบว่า ตั้งแต่ระดับความลึก 0 ถึง 24 เมตร ไม่ว่าดินในชั้นต่างๆ นั้นจะมีความ อ่อน หรือ แข็ง มากน้อยเพียงใด แต่ สิ่งหนึ่งที่ดินแต่ละชั้นนั้นจะมีความเหมือนๆ กันเลยก็คือ ดินในทุกๆ ระดับความลึกนั้นถือได้ว่าเป็น ดินเหนียว ซึ่ง ดินเหนียว นี้เองจะมีคุณสมบัติที่มีความสำคัญมากๆ ประการหนึ่งที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ จะลืมเลือนไปไม่ได้เลยก็คือ ดินเหนียว จะมีความสามารถในการขยายคลื่นการสั่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ประมาณ 5 เท่า ถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกันกับกรณีของ ดินแข็ง นะครับ

 

สรุป

 

สำหรับอาคารที่มีการใช้งานโครงสร้างเสาเข็มยาวเป็นระบบหลักในการรับ นน ของอาคาร เมื่อใดก็ตามหากว่าชั้นดินใต้ฐานของอาคารของเรานั้นถูกจำแนกออกมาได้ว่าเป็น ดินเหนียว ไม่ว่าปลายของเสาเข็มของอาคารของเรานั้นจะหยั่งอยู่ที่ระดับของชั้นดินใดก็ตาม ค่า S ที่เราควรนำมาใช้ในการคำนวณหาค่าแรงกระทำที่เกิดจากคลื่นแผ่นดินไหว ก็ควรที่จะมีค่าเท่ากับ 2.50 อยู่ดีนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์

#การคำนวณหาค่าความถี่จากค่าคาบการสั่นของโครงสร้าง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com