วิธีในการแก้ไขปัญหา เรื่องรอยร้าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาคารทั้งสองนี้เกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ตามที่ผมได้เรียนกับเพื่อนๆ ไปในการโพสต์ครั้งที่แล้วว่าวันนี้ผมจะหยิบยกและนำเอาวิธีการในการแก้ไขปัญหาของกรณีปัญหาที่เกิดจากการที่มีรอยร้าวเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอาคารใหม่และอาคารเก่านั้นมีการทำการก่อสร้างทางเชื่อมอาคารและอาคารทั้งสองนั้นก็เกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกันมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ถือเป็นวิธีการที่อาศัยหลักการพื้นฐานง่ายๆ ดังนั้นจึงสามารถที่จะประยุกต์ใช้ได้กับเกือบทุกๆ อาคารเลยนั่นก็คือ ทำการก่อสร้างทางเชื่อมโดยอาศัยระบบโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างแบบแยกส่วนนั่นเอง เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถที่จะดูรูปภาพประกอบคำอธิบายของผมก็ได้นะครับ

 

จากรูปจะเห็นได้ว่าเรามีกรณีที่มีอาคารเก่าอยู่อาคารหนึ่ง ต่อมาก็มีการก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้นข้างๆ อาคารหลังนี้ หรือ อีกกรณีหนึ่งก็คือ อาคารทั้งสองนี้อาจจะเป็นอาคารใหม่ที่ทำการก่อสร้างพร้อมๆ กันก็ได้ ซึ่งในตอนเริ่มแรกอาคารทั้งสองนี้จะมีระดับของอาคารที่เท่าๆ กัน หรือ อาจจะแตกต่างกันออกไปก็แล้วแต่กรณีของระดับอาคาร ซึ่งในสภาวะตอนนี้ปัญหายังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นไม่ว่าเพื่อนๆ จะทำการก่อสร้างโดยใช้ระบบของโครงสร้างเป็นระบบใดๆ ก็แล้วแต่ ก็จะไม่ทำให้เกิดผลอันใดกับโครงสร้างของเพื่อนๆ นะครับ

 

โดยที่ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อระยะเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง จะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยที่แวดล้อมโครงสร้างของเรา นั่นก็คืออาคารหนึ่งอาคารใดเกิดการทรุดตัวมากกว่าปกติ ซึ่งในสภาวะนี้เองหากเราเลือกใช้ระบบโครงสร้างของทางเชื่อมเป็นประเภทหล่อในที่หรือระบบโครงสร้างที่จุดต่อนั้นมีความแข็งแกร่ง หรือ STIFFNESS ที่มีค่าสูงๆ เมื่อโครงสร้างนั้นเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกันมากๆ เราก็จะพบได้ว่า อาคารทั้งสองนี้จะเกิดการยึดรั้งระหว่างกันและกันได้ จนในที่สุดเมื่อจุดต่อของโครงสร้างทางเชื่อมดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่จะต้านทานแรงยึดรั้งระหว่างโครงสร้างทั้งสองได้ เมื่อนั้นจุดต่อนี้ก็จะเกิดการกระจายตัวของแรง หรือ FORCE DISTRIBUTION ขึ้นและก็จะส่งผลทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นที่ผิวบนสุดของจุดต่อได้นะครับ

 

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สภาวะดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในจุดต่อของโครงสร้างทางเชื่อมของเราๆ ก็เพียงแค่อาศัยระบบระบบโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างแบบแยกส่วน หรือ ISOLATED STRUCTURAL SYSTEM ซึ่งระบบนี้ก็จะมีความคล้ายคลึงกันกับโครงสร้างจำพวกพื้นแยกส่วน หรือ APPROACH SLAB ที่เรานิยมใช้กับบริเวณต่างระดับของแผ่นพื้นวางบนดินครับ

 

สาเหตุที่การอาศัยระบบโครงสร้างระบบนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนเช่นที่ผมได้อธิบายไปนั้นเป็นเพราะว่า เมื่อโครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างที่ก่อสร้างแบบแยกส่วน จุดต่อที่ใช้ก็จะมีการเสียบไว้ด้วย เหล็กที่จะคอยทำหน้าที่ในการถ่ายแรงเฉือน หรือ SHEAR KEY เพื่อรักษาเสถียรภาพของโครงสร้างส่วนนี้มิให้เกิดการหลุดออกจากจุดรองรับของอาคารทั้งสอง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จุดต่อระหว่างโครงสร้างส่วนนี้ก็จะสามารถเกิดการเสียรูปแบบ “หมุนตัว” หรือ ROTATE ได้อย่างอิสระ พูดง่ายๆ ก็คือ วิธีการนี้จะเป็นการช่วยทำให้ไม่เกิดการยึดรั้ง หรือ CONSTRAINT ระหว่างโครงสร้างที่ได้ทำการก่อสร้างแบบแยกส่วนกับโครงสร้างของอาคารทั้งฝั่งซ้ายและขวาของเรานั่นเองครับ

 

อย่างที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปในครั้งที่แล้วนะครับว่า จริงๆ แล้ววิธีในการแก้ปัญหาลักษณะแบบนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธีการเลย ซึ่งวิธีการที่ผมได้หยิบยกนำเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเพียงวิธีการง่ายๆ วิธีการหนึ่งเพียงเท่านั้น เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ จะป้องกันหรือแก้ปัญหาในลักษณะแบบนี้ผมก็ขอให้คำแนะนำว่า เพื่อนควรที่จะปรึกษาวิศวกรโยธาที่มีความรู้และประสบการณ์ ซึ่งนั่นก็จะเป็นการส่งผลดีต่อหลายๆ เรื่อง ซึ่งก็อาจจะรวมไปถึงเรื่องความแข็งแรงและเสถียรภาพที่ดีของโครงสร้างและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเราทำการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ตรงประเด็น ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เมื่อนั้นก็จะช่วยทำให้เราสามารถที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้อีกมากโขเลยละครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#แนะนำวิธีในการแก้ไขปัญหาเรื่องรอยร้าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาคารทั้งสองนี้เกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกันตอนที่หนึ่ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com