การออกแบบเสา คสล รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ

 

ผมไม่ทราบว่าโดยปกติแล้วเมื่อเพื่อนๆ ทำการออกแบบเสา คสล รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อนๆ มักที่จะทำการออกแบบให้เหล็กเสริมภายในหน้าตัดของเสานั้นเป็นแบบสมมาตรเหมือนที่ผมมักจะทำหรือไม่ ตัวอย่างของการเสริมเหล็กแบบสมมาตรเช่น 4 เส้น 8 เส้น 12 เส้น เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์หลายๆ อย่างนะครับ เช่น เพื่อกันมิให้คนทำงานนั้นเกิดความเข้าใจในแบบผิด เพื่อให้การเทคอนกรีตนั้นสามารถที่จะทำได้โดยง่าย เป็นต้น แต่ เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าก็ยังมีวิศวกรหลายๆ ท่านยังเลือกที่จะทำการออกแบบให้เหล็กเสริมภายในเสานั้นมีลักษณะที่ไม่สมมาตรอยู่เหมือนกันนะครับ เช่น 6 เส้น 10 เส้น 14 เส้น เป็นต้น ซึ่งคำถามในวันนี้มี 2 ข้อ คือ

 

(1) หากเรานั้นเป็นผู้ออกแบบอาคารและเราจะทำการออกแบบให้เหล็กเสริมภายในเสานั้นมีลักษณะที่ไม่สมมาตร เพื่อนๆ มีวิธีการอย่างไรในการที่จะไม่ทำให้คนทำงานนั้นเข้าใจแบบผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนออกไปจากทีได้ทำการออกแบบเอาไว้ครับ ?

 

(2) หากเรานั้นเป็นคนทำหน้าที่ก่อสร้างอาคารและทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบให้เหล็กเสริมภายในเสานั้นมีลักษณะที่ไม่สมมาตร ทั้งนี้ผู้ออกแบบเองก็ไม่ได้อธิบายแบบหรือไม่ได้มีมาตรการใดๆ เลยที่จะเอื้ออำนวยให้เราสามารถที่จะทำการอ่านแบบให้เข้าใจได้ว่า วิธีในการเสริมเหล็กภายในเสานั้นเป็นอย่างไร เพื่อนๆ จะนำวิธีการหรือเทคนิคใดมาใช้ในการตัดสินใจเสริมเหล็กภายในเสาดีครับ ?

 

เรามาเริ่มต้นกันที่คำถามข้อที่ 1 กันก่อนก็แล้วกันนะครับ นั่นก็คือในกรณีที่เรานั้นเป็นผู้ออกแบบ เราจะมีวิธีการอย่างไรในการที่จะไม่ทำให้คนทำงานนั้นเข้าใจแบบผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนออกไปจากทีได้ทำการออกแบบเอาไว้ ?

 

คำตอบ หากจะถามหาวิธีการที่เหมาะสมคงจะต้องนั่งคุยกันยาวเลยเพราะผมเชื่อว่ามีวิธีการมากกว่า 1 วิธีอย่างแน่นอนนะครับแต่วิธีการที่ผมจะให้คำแนะนำไว้ต่อไปนี้ค่อนข้างที่จะตรงไปตรงมามากที่สุดและสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ไดโดยง่ายที่สุดอีกด้วย นั่นก็คือ การกำหนดรายละเอียดของตำแหน่งต่างๆ ของ GRID LINE ลงไปบนรูปตัดแสดงรายละเอียดของการเสริมเหล็กของเสาเลยนะครับ โดยหากเราทำตามวิธีการนี้แล้วจะเป็นการช่วยลดโอกาสในการที่ทางช่างนั้นจะทำงานการวางตำแหน่งของเหล็กเสริมแล้วเกิดความผิดพลาดลงไปได้มากๆ เลยละครับ

 

มาต่อกันที่คำถามข้อที่ 2 กันเลยนะครับ นั่นก็คือในกรณีที่เรานั้นเป็นผู้ทำการก่อสร้างและทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบให้เหล็กเสริมภายในเสานั้นมีลักษณะที่ไม่สมมาตร ทั้งนี้ผู้ออกแบบเองก็ไม่ได้อธิบายแบบหรือไม่ได้มีมาตรการใดๆ เลยที่จะเอื้ออำนวยให้เราสามารถที่จะทำการอ่านแบบให้เข้าใจได้ว่า วิธีในการทำให้เสริมเหล็กภายในเสานั้นเป็นอย่างไร เราจะนำวิธีการหรือเทคนิคใดมาใช้ในการตัดสินใจเสริมเหล็กภายในเสาดีครับ ?

 

คำตอบ ผมจะขอทำการแบ่งลำดับวิธีในการแก้ปัญหาข้อนี้ออกเป็นขั้นตอนหลักๆ ทั้งหมด 2 ลำดับการทำงานใหญ่ๆ ด้วยกันดังนี้นะครับ

 

ลำดับที่ 1 เราควรต้องแจ้งกลับไปยังผู้ออกแบบเพื่อที่จะได้ทำการสอบถามเสียก่อนนะครับว่ารายละเอียดจริงๆ ของหน้าตัดเหล็กเสริมจริงๆ นั้นควรจะเป็นอย่างไร เพราะจะไม่มีใครที่ทราบถึงข้อมูลจากการออกแบบได้ดีไปกว่าผู้ทำการออกแบบโครงสร้างของอาคารมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้วนะครับและเอาตรงๆ เลยก็คือ ผู้ออกแบบเองก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ดังนั้นโอกาสที่เค้าจะหลุดหรือแสดงรายละเอียดภายในแบบผิดพลาดออกไปจากที่ควรจะเป็นก็มีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกันนะครับ

 

ลำดับที่ 2 หากดำเนินการตามลำดับที่ 1 ไปแล้วกลับยังไม่ได้รับคำตอบที่เราต้องการ จะด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็ตามแต่ ผมจะขออนุญาตให้คำแนะนำเอาไว้ว่า ให้เราทำการหันแกนของเสาด้านที่มีเหล็กเสริมมากให้ตรงกับด้านช่วงพาด หรือ SPAN ของโครงสร้างคานที่พาดอยุ่บนหัวเสาต้นนั้นๆ นะครับ เช่น หากโครงสร้างคานที่วางอยู่ด้านบนหัวเสานั้นมีช่วง BAY เท่ากับ 4 เมตร และ มีช่วง SPAN เท่ากับ 6 เมตร ผมก็จะแนะนำให้แกนของเสาด้านที่มีเหล็กเสริมมากให้ตรงกับด้านช่วง 6 เมตร เป็นต้นนะครับ ทั้งนี้เป็นเพราะในทิศทางด้านช่วงพาดของโครงสร้างคานนั้น มัก ที่จะทำให้โครงสร้างเสานั้นมีโอกาสเกิด UNBALANCE MOMENT ในปริมาณที่มากกว่าด้านที่อยู่ตรงกันข้ามกันเสมอ ซึ่งในที่สุดพอนำค่า UNBALANCE MOMENT นี้ไปทำการออกแบบหน้าตัดเสาก็จะพบว่าในทิศทางนั้นๆ จะต้องการปริมาณของเหล็กเสริมเพื่อที่จะใช้รับแรงดึงที่เกิดขึ้นในหน้าตัดเนื่องจากแรงดัดนี้ในปริมาณที่มากกว่าในอีกทิศทางหนึ่งเสมอนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านเหลือนวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com