ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปเกี่ยวกับระบบเสาเข็มรับแรงฝืด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เมื่อช่วงที่ผมได้พักผ่อนอยู่บ้านจากสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ที่ผ่านมานี้ผมได้มีการพูดคุยสนทนาและแลกเปลี่ยนความรู้กันกับรุ่นน้องวิศวกรเครื่องกลท่านหนึ่งที่เพิ่งจบการศึกษามาได้ไม่นาน พวกเราก็ได้พูดคุยกันในหลายๆ ประเด็นเลย ซึ่งก็น่าจะเป็นการดีและมีประโยชน์ต่อการทำงานของน้องเค้าในอนาคตแต่แล้วก็มีคำถามๆ หนึ่งที่น้องเค้าได้สอบถามผมมา ซึ่งในตอนแรกผมก็นึกตลกในคำถามๆ นี้แต่พอคิดไปคิดมาก็เลยเข้าใจได้ว่า สาเหตุที่น้องท่านนี้ถามคำถามข้อนี้มาเพราะน้องเค้าเพิ่งจะเริ่มต้นอาชีพการเป็นวิศวกรมาได้ไม่นานเท่าใดนัก น้องเค้าเลยอาจจะยังไม่มีความเข้าใจเรื่องราวทางด้านวิศวกรรมโยธาดีสักเท่าใดนัก ผมก็เลยได้ตอบและอธิบายแก่น้องเค้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เอาเป็นว่าผมขออนุญาตนำเอาคำถามของน้องท่านนี้มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ ทุกคน เผื่อว่าเพื่อนๆ ท่านใดอาจจะเคยได้รับคำถามในทำนองเดียวกันนี้มาเหมือนกันกับผม โดยที่ผมขอทำการสรุปคำถามของน้องท่านนี้ดังต่อไปนี้ครับ

 

“เท่าที่ผมรู้มา เวลาที่คุณทำการคำนวณหากำลังของเสาเข็มในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พวกคุณจะต้องทำการคุณแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในเสาเข็มกับดินใช่หรือไม่แล้วเพราะเหตุใดผมจึงไม่เคยเห็นว่าจะมีวิศวกรโยธาท่านใดที่พูดถึงหรือมีความสนใจในการหาค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานกันบ้างเลยหรือว่าพวกคุณคำนวณแรงเสียดทานที่ว่านี้อย่างไรกันครับ?”

 

พอเพื่อนๆ ได้ยินคำถามนี้แล้วนึกขบขันเหมือนผมใช่หรือไม่ครับ ? ไม่เป็นไรครับ ก็เอาเป็นว่าผมจะขอให้เพื่อนๆ ดูรูปประกอบกับคำอธิบายเพื่อเป็นการตอบคำถามข้อนี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบไปพร้อมๆ กันดังนี้ครับ

 

ข้อที่ (1) น้องท่านนี้พูดเพี้ยนไปนิดนึงตรงที่ใช้คำว่า เสาเข็มนั้นรับ “แรงเสียทาน” ซึ่งจริงๆ จะต้องพูดให้ถูกว่า เสาเข็มนั้นรับ “แรงฝืด” แทนเพราะเวลาที่เราพูดถึงค่า “สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน” หรือ “FRICTION COEFFICIENT” นั่นหมายความว่า เรากำลังพูดถึง ระบบแรงใดๆ ซึ่งในรูปตัวอย่างผมจะสมมติให้มีค่าเท่ากับแรง H ซึ่งแรงๆ นี้จะกระทำขนานไปกับทิศทาง i กับวัตถุหรือชิ้นงานใดชิ้นงานหนึ่ง ซึ่งวัตถุนั้นๆ ก็จะมีน้ำหนักของตัววัตถุเองหรืออาจจะเป็นระบบแรงใดๆ ที่กระทำในทิศทาง “ตั้งฉาก” กับทิศทาง i ซึ่งในรูปตัวอย่างผมจะสมมติให้มีค่าเท่ากับแรง W โดยที่เจ้าตัววัตถุนี้จะถูกวางอยู่บนพื้นผิวของวัสดุ A ซึ่งก็จะมีคุณสมบัติค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานเท่ากับ μ นะครับ

 

หากว่าระบบของแรงทั้งหมดมีเพียงเท่านี้ เราก็จะทราบได้ในทันทีเลยว่า วัตถุของเราจะ “ไม่เคลื่อนที่” ไปตามทิศทางของเจ้าแรง H หากว่าแรง H นั้นมีค่าที่ “น้อยกว่า” ค่าผลคูณระหว่าง W กับค่า μ หรือหากจะให้ทำการเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการก็สามารถที่จะเขียนออกมาได้โดยอาจจะทำการตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า หากเราต้องการที่จะให้เจ้าวัตถุนี้เคลื่อนที่ไปตามทิศทางของแรง H ค่าของแรง H นั้นก็จะต้องมีค่าที่ “มากกว่า” ค่า W คูณกันกับค่า μ นั่นเอง

H > W x μ

 

ข้อที่ (2) หากจะพูดถึงเสาเข็มของเราบ้าง เพื่อนๆ หลายๆ คนก็คงจะพอนึกภาพกันออกใช่หรือไม่ว่า ตามปกตินั้นเสาเข็มที่รับน้ำหนักในแนวดิ่งทั่วๆ ไปนั้นจะต้องรับน้ำหนักและมีการวางตัวตั้งอยู่ในทิศทางตั้งฉากกันกับพื้นโลก ดังนั้นหากเราจะคิด “แรงเสียดทาน” จริงๆ นั่นก็แสดงว่า จะต้องมีระบบแรงในแนวราบ “ตามธรรมชาติ” หรือระบบของแรงในแนวราบ “ทางกล” กระทำกับตัวเสาเข็ม ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าแรงๆ นี้ก็จะต้องมาจากพื้นดินที่อยู่รอบๆ ตัวเสาเข็ม น้ำหนักของตัวเสาเข็มเองก็จะไม่ใช่แรงดังกล่าวนี้ เพราะน้ำหนักของตัวเสาเข็มเองก็จะถูกแรงดึงดูดของโลกกระทำในทิศทางเดียวกันกับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มและก็แน่นอนอีกเช่นเดียวกันว่า ตามปกติแล้วก็จะไม่มีแรงใดๆ ที่จะเข้ามากระทำในแนวราบจากพื้นโลกนั่นเองน่ะครับ

 

สรุปเรื่องราวทั้งหมดในโพสต์ๆ นี้ได้ง่ายๆ เลยก็คือ น้องวิศวกรท่านนี้เพียงแค่เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนออกไปเกี่ยวกับเรื่อง กลไกการรับกำลังของโครงสร้างเสาเข็มรับแรงฝืด ซึ่งหากจะแก้ไขให้คำพูดที่น้องท่านนี้พูดถึงให้ถูกต้อง ก็ต้องแก้ไขให้เป็นเสาเข็มซึ่งทำหน้าที่ในการรับ “แรงฝืด” ไม่ใช่ “แรงเสียดทาน” ก็เท่านั้นเองละครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ตอบปัญหาเรื่องความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปเกี่ยวกับระบบเสาเข็มรับแรงฝืด

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com