โครงสร้างพื้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่โพสต์ในวันนี้ของผมๆ จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตทำการคั่นการกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง โครงสร้างพื้น ต่อเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วด้วยเนื้อหาในวันนี้สักหน่อยเพราะว่ามีประเด็นเรื่องความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนออกไปของเพื่อนสมาชิกแฟนเพจบางท่านเกี่ยวกับหัวข้อๆ หนึ่งที่ผมเคยได้โพสต์อธิบายไปก่อนหน้านี้ ซึ่งผมก็ต้องขอกล่าวย้อนไปถึงโพสต์ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาซึ่งก็คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ที่ผมได้โพสต์รูปเสาเหล็กพร้อมกับเหล็กแผ่นพร้อมกับเนื้อความในโพสต์ว่า

 

โครงสร้างเสาเหล็กในรูปที่แสดงนั้นได้ถูกทำการยึดและติดตั้งลงไปบนเหล็กแผ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราจะสามารถเห็นว่ามีช่องว่างเหลืออยู่ได้ด้วยตาเปล่าเลยซึ่ง “ตามปกติ” แล้วในแบบวิศวกรรมโครงสร้างจะมีการระบุให้ทำการเติมช่องว่างเหล่านี้ให้เต็มโดยใช้วัสดุจำพวก NON-SHRINK แต่ จากรูปก็จะพบเห็นได้ว่า ยังไม่มีการเติมด้วยวัสดุดังกล่าวเลย ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงการละเลยหรือขาดการควบคุมงานที่ดีเพียงพอ

 

“ตามปกติ” แล้วใต้แผ่นเหล็ก หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า BASE PLATE นั้นจะมีการร้อยด้วย NUT ที่อาจจะเป็น ANCHOR BOLT ไว้ในโครงสร้างเสาคอนกรีตก่อนที่จะทำการติดตั้งตัว STEEL COLUMN ที่มีการยึดเข้ากับตัว BASE PLATE อยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เป็นตัวช่วยในการที่ช่างเหล็กที่ทำหน้าที่ในการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กนั้นสามารถที่จะทำการก่อสร้างและติดตั้งตัวโครงสร้างเสาเหล็กได้ด้วยความง่ายดายมากยิ่งขึ้น เช่น ติดตั้งให้ได้ระดับ ติดตั้งให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลาง ติดตั้งให้ได้ดิ่ง เป็นต้น เมื่อทำเช่นนั้นก็จะทำให้ที่ใต้แผ่น BASE PLATE นั้นเกิดช่องว่างขึ้น ดังนั้นเพื่อให้โครงสร้างเสาเหล็กนั้นสามารถที่จะถ่าย แรงกด หรือ BEARING FORCE ลงไปยังส่วนที่เป็นฐานระหว่าง โครงสร้างเสาคอนกรีต ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเติมช่องว่างนี้ด้วย NON-SHRINK โดยที่การเติมเจ้าวัสดุนี้เข้าไปเราจำเป็นที่จะต้องแน่ใจได้จริงๆ นะครับว่า ช่องว่างนี้ เต็ม ไปด้วย NON-SHRINK อย่างสมบูรณ์ เช่น ไม่ได้เกิด โพรง หรือ เกิดฟองอากาศ ภายในช่องว่างเหล่านี้เลย เป็นต้นครับ

 

ผมขออนุญาตย้อนไปแค่นี้ก็พอนะครับ จะเห็นได้ว่าภายในเครื่องหมาย “……” ผมได้ใช้คำว่า “ตามปกติ” ซึ่งผมก็ขอยืนยันตรงนี้อีกครั้งว่าผมหมายความเช่นนั้นจริงๆ เพราะบังเอิญว่าได้มีสหายของผมท่านหนึ่งได้สอบถามผมเข้ามาเกี่ยวกับประเด็นๆ นี้มาพอดีว่า จากโพสต์ข้างต้นนี้ทำให้เค้าเข้าใจว่า ทุกๆ จุดต่อนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการ GROUT ด้วย NON-SHRINK ทั้งหมด ซึ่งผมก็ได้ให้คำอธิบายแก่เค้าไปว่าในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นนะครับ

 

วิธีในการทำงานติดตั้งแผ่นเหล็กเพื่อทำหน้าที่ในการรองรับเสาเหล็กนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบหลักๆ ซึ่งประกอบด้วย

 

  1. จะต้องมีการ GROUT ใต้แผ่น PLATE ด้วยวัสดุ NON-SHRINK ซึ่ง “ตามปกติ” สำหรับโครงสร้างทั่วๆ ไปแล้ววิศวกรผู้ออกแบบนั้นมักที่จะทำการกำหนดให้รายละเอียดของจุดต่อให้เป็นแบบนี้

 

  1. ไม่จำเป็นต้องมีการ GROUT ใต้แผ่น PLATE ด้วยวัสดุ NON-SHRINK ใดๆ เลย ซึ่งก็อาจจะพบเห็นได้เหมือนกันแต่จะมีในสัดส่วนที่น้อยกว่าแบบแรกค่อนข้างมาก

 

สาเหตุที่เราพบแบบที่สองได้น้อยกว่าแบบแรกก็เพราะ หากทำตามแบบแรกซึ่งเป็นการ GROUT ด้วยวัสดุ NON-SHRINK เนื่องด้วยการที่ตัววัสดุเองนั้นมีจุดเด่นทางด้าน หน่วยแรงเค้นแบบกด (COMPRESSIVE STRESS) ที่ดีก็จริงแต่การ GROUT นั้นก็จะใช้วัสดุตัวนี้ในปริมาณที่น้อยมากๆ เพื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่รับแรงทั้งหมด ซึ่งนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยทำให้ค่าความแข็งแกร่ง (STIFFNESS) ที่บริเวณนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีก็ต้องยอมรับว่าการ GROUT ด้วย NON-SHRINK ก็ยังเป็นการทำให้ค่าความแข็งแกร่งนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าแบบที่ไม่ได้มีการ GROUT อย่างแน่นอนนะครับ และ ที่สำคัญคือเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็ยังจะช่วยทำให้งานแลดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าแบบที่ไม่ทำการ GROUT มากๆ เลยละครับ

 

อีกประการหนึ่งที่ผมอยากจะกล่าวถึงสักเล็กน้อยก็คือ ในแบบที่สองนั้นเรามักจะมีการใช้งานก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นในการทำงานจริงๆ เท่านั้น เช่น เสาเหล็กที่มีการใช้งานเป็นแบบชั่วคราว (TEMPORARY POLE) ซึ่งเสาเหล็กจำพวกนี้มักจะมีความจำเป็นที่จะต้องสามารถทำการ รื้อถอนออกไปได้โดยง่าย หากทำการ GROUT จะเป็นอุปสรรคเวลาทำการรื้อถอนออกไป หรือ เป็นเสาเหล็กที่สามารถที่จะทำการปรับระดับได้ (ADJUSTABLE POLE) ซึ่งเสาเหล็กจำพวกนี้ต้องสามารถทำการแก้ไข หรือ ทำการปรับในเรื่องระดับความสูงต่ำได้โดยง่าย หากทำการ GROUT ปิดไปทั้งหมดก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำการปรับในเรื่องของระดับดังกล่าวได้ เป็นต้น ซึ่งจากเหตุผลเพียง 2 ข้อข้างต้นเราก็จะมีโอกาสพบเจอได้น้อยครั้งมากๆ เลยนะครับ

 

โดยที่ผมจำได้ว่า ในโพสต์ก่อนหน้านี้ผมได้อธิบายไปเพียงสังเขปเท่านั้น กล่าวคือผมไม่ได้อธิบายโดยละเอียดว่า วิธีในการทำงานนั้นสามารถที่จะทำงานได้ทั้ง 2 รูปแบบ เหมือนกับที่ผมได้อธิบายไปในโพสต์ๆ นี้ซึ่งหากว่าผลของมันจะทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนเกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดประการใดไป ผมต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ เพราะเจตนาของผมในโพสต์ๆ นั้น ผมเพียงแต่ต้องการที่จะชี้ให้เห็นภาพโดยรวมว่า การทำงาน “ตามปกติ” แล้วเรามักจะทำการกำหนดให้มีการ GROUT ใต้บริเวณแผ่นเหล็กเท่านั้น

 

หวังว่าการอธิบายของผมในวันนี้จะสร้างความกระจ่างให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้ไม่มากก็น้อยๆ และหวังอีกเช่นกันว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนทุกๆ คนและจนกว่าเราจะกลับมาพบเจอกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#อธิบายถึงวิธีการเติมหรือไม่เติมช่องว่างใต้แผ่นเหล็กให้เต็มด้วยซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัว

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com