สบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้างประเภทรับแรงดึงเท่านั้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

สืบเนื่องจากเมื่อในสองถึงสามช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคาที่ทำหน้าที่ในการป้องกันลมฝนซึ่งจะอยู่ในบริเวณส่วนด้านหลังของอาคารให้แก่เพื่อนๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในการโพสต์ดังกล่าวนั้นผมจะเน้นหนักไปที่โครงสร้างซึ่งมีความต้องการเสถียรภาพจากเรื่องแรงดัดเป็นหลัก ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาหยิบยกนำเอากรณีของการออกแบบโครงสร้างซึ่งจะมีความต้องการเสถียรภาพจากเรื่องแรงดึงเป็นหลักบ้าง ซึ่งจะได้แก่โครงสร้างประเภทใดกัน วันนี้เราจะมาติดตามรับชมไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ


โครงสร้างที่ว่านี้ก็จะได้แก่โครงสร้างที่อาศัยชิ้นส่วนประเภทที่รับเฉพาะแค่เพียงแรงดึงเท่านั้นหรือ TENSION ONLY STRUCTURES ซึ่งก็อาจจะได้แก่ โครงสร้างเส้นที่เป็นเส้นลวดที่ทำหน้าที่รัดโครงสร้างเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต หรือ โครงสร้างที่เป็นเส้นลวดที่ทำหน้าที่ยึดรั้งให้โครงหลังคานั้นตั้งอยู่ได้ เหมือนกับรูปที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ในโพสต์ๆ นี้นั่นเองครับ

ซึ่งหากเพื่อนๆ พิจารณาลักษณะของโครงสร้างดังรูปเหล่านี้เพื่อนๆ ก็อาจจะเห็นได้ว่า เสถียรภาพของโครงสร้างดังกล่าวนี้จะมีมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแรงดึงที่เส้นลวดนั้นมีอยู่ ยิ่งโครงสร้างของเรานั้นมีแรงดึงที่มากหรือพูดง่ายๆ คือมีความตึงที่มาก โครงสร้างของเราก็จะสามารถตั้งอยู่ได้โดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ ในทางกลับกันหากว่าโครงสร้างของเรานั้นมีแรงดึงที่ค่อนข้างน้อยหรือมีความหย่อนตัวที่มาก โครงสร้างของเราก็จะไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ ดังนั้นเวลาที่ผู้ออกแบบนั้นได้ทำการออกแบบลักษณะของโครงสร้างประเภทนี้ ผู้ออกแบบจึงมักที่จะต้องกำหนดให้ผู้ก่อสร้างนั้นต้องตรวจสอบค่าแรงดึงขั้นต่ำเริ่มต้นหรือ INITIAL MINIMUM TENSION FORCE ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ค่าดังกล่าวก็จะใช้เป็นค่าสัดส่วนร้อยละจากค่ากำลังดึงที่จุดครากหรือ YIELD FORCE ของเส้นลวดนะครับ

ส่วนสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับการออกแบบโครงสร้างประเภทนี้ที่ผมอยากจะขอฝากและแนะนำเอาไว้กับเพื่อนๆ ก็อาจจะได้แก่ จุดต่อ หรือ CONNECTION ซึ่งจะต้องมีความสามารถในการส่งถ่ายแรงดึงระหว่างโครงสร้างหลักและโครงสร้างรองได้อย่างสมบูรณ์ ประการสุดท้ายก็คือ เมื่อเราใช้งานโครงสร้างในลักษณะแบบนี้ไปสักระยะหนึ่งก็มีความจำเป็นที่เราจะต้องหมั่นทำการตรวจสอบอยู่เสมอด้วยว่า เส้นลวดของเรานั้นเกิดการสูญเสียแรงดึงหรือ TENSION LOSS ไปบ้างหรือไม่ หากว่ามี ก็จำเป็นที่จะต้องมีการบำรุงรักษาโครงสร้างเส้นลวดเหล่านี้ให้มีค่าแรงดึงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#โครงสร้างประเภทรับแรงดึงเท่านั้น
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com