วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ รวมไปถึงน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามกับผมเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ นะครับ โดยที่ผมได้ทำการเขียนรูป ตย มาเพื่อที่จะทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันในการอธิบายครั้งนี้ด้วยนะครับ ในรูป (A) เป็นรูปการวางตำแหน่งของเสาเข็มตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ในแบบ โดยจะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ออกแบบมักที่จะทำการกำหนดให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะไม่น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 3 เท่าของ D โดยที่ D … Read More

เมื่อจะออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างทางลาดเพื่อจะใช้เป็นทางเดินสำหรับรถเข็น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาแชร์และถือโอกาสมาตอบคำถามให้แก่รุ่นน้องของผมท่านหนึ่งที่ในวันนี้เราได้มีการให้ปรึกษากันว่า “เมื่อจะออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างทางลาดเพื่อจะใช้เป็นทางเดินสำหรับรถเข็น น้องท่านนี้เลือกที่จะใช้ระบบคานเป็น T-BEAM โดยให้ปีก (FLANGE) ของเจ้า T-BEAM นั้นเป็นพื้นของทางลาด โดยที่คานนี้วางอยู่บน เสาเดี่ยว (SINGLE COLUMN) และ ฐานรากที่ใช้เสาเข็มเดี่ยว (SINGLE PILE FOUNDATION) โดยที่น้องเลือกที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างเสาและฐานรากนั้นไม่ต้องรับโมเมนต์ที่จะเกิดขึ้นโดยการเลือกไปทำการปลดค่าโมเมนต์ที่หัวเสาออกไป … Read More

ตัวอย่าง การระมัดระวังไม่ให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็ก(โครงถัก)เกิดการเยื้องศูนย์ ผิดไปจากที่ทำการออกแบบไว้ในตอนแรก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาพูดต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานที่มีความเกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญๆ ที่เราควรที่จะทำการพิจารณาเวลาที่ทำการออกแบบและการทำงานก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กแก่เพื่อนๆ กันนะครับ ซึ่งประเด็นในวันนี้ก็ยังคงเกี่ยงข้องกับเรื่อง การที่เราควรที่จะระมัดระวังมิให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากการที่เราได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในตอนแรกนะครับ โดยในวันนี้ผมหยิบยก ตย ขึ้นมาให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันด้วย เพื่อนๆ จะได้สามารถที่จะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยนะครับ อย่างที่ผมเรียนไปในโพสต์ที่แล้วนะครับว่า ที่มาของปัญหานี้ คือ เวลาที่ผู้ออกแบบทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโครงถักเหล็ก เรามักที่จะทำการจำลองให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน แต่ ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ช่างทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กมักที่จะทำงานโดยอาศัยความง่ายในการทำงานเอาไว้ก่อน … Read More

ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม FINITE ELEMENT ร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ นั่นก็คือ AUTO CAD

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาเล่ามาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเนื้อหาเบาๆ เกี่ยวกับเรื่อง ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม FINITE ELEMENT ร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ ที่เพื่อนทั่วๆ ไปน่าที่จะมีความคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ AUTO CAD นั่นเองครับ โดย CASE STUDY ที่ผมนำมาใช้ประกอบในการอธิบายครั้งนี้คืองานในอดีตที่ผมเคยทำเอาไว้นะครับ งานๆ … Read More

การแก้ไขปัญหางานโครงสร้างฐานรากที่ใช้ระบบเสาเข็มในการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ต่อจากเมื่อวานเกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขปัญหางานโครงสร้างฐานรากที่ใช้ระบบเสาเข็มในการก่อสร้างนะครับ โดยในวันนี้จะเป็นการตอบคำถามของเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งที่ทิ้งคำถามไว้พักใหญ่แล้วนะครับ ซึ่งโพสต์ๆ นี้น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้สำหรับหัวข้อนี้ก่อนนะครับ เพราะ ผมมีคิวที่จะต้องโพสต์เพื่อตอบปัญหาแก่เพื่อนๆ อีกหลายเรื่องเลยน่ะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้นะครับ ปัญหาที่ผมจะนำมาถกกัน และ เล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันในวันนี้ คือ หากฐานรากของเราใช้เสาเข็มจำนวนเพียง 2 ต้น … Read More

สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาแชร์และเล่าถึงประเด็นที่มีความสำคัญมากประการหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แรงกระทำทางด้านข้างแก่โครงสร้างของอาคารอันเนื่องมาจากแรงลมให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบกันนะครับ หัวข้อนั้นก็คือ สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า ซึ่งเป็นรูปแบบการคำนวณแรงลมตามมาตรฐานฉบับใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองนะครับ โดยหากอ้างอิงตาม มยผ 1311-50 หรือ มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคารนะครับ หากเรามาดูสมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่าจะพบว่าหน้าตาของสมการนี้เป็นดังต่อไปนี้นะครับ P = Iw q Ce Cg Cp ในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาขยายความถึงค่า … Read More

การวางตำแหน่งเสาเข็มที่มีความเหมาะสมในโครงสร้างฐานรากเดี่ยว (ISOLATED FOUNDATION) ที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้เรื่องที่ผมจะนำมาฝากและมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามผมมาสักพักใหญ่เกี่ยวกับเรื่องการวางตำแหน่งเสาเข็มที่มีความเหมาะสมในโครงสร้างฐานรากเดี่ยว (ISOLATED FOUNDATION) ที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้นนะครับ จริงๆ แล้วคำถามข้อนี้ผมคิดว่าพวกเราน่าที่จะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่าระยะห่างของเสาเข็มที่มีความเหมาะสมเพื่อไม่ให้เส้นแนวของแรงเค้นในเสาเข็มนั้นเกิดการซ้อนทับกัน (STRESS OVERLAPPING) คือ เท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มนะครับ แต่ สำหรับโครงสร้างฐานรากที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้นหากเราใช้ระยะนี้เท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มจะทำให้ฐานรากนั้นมีขนาดใหญ่มาก … Read More

วิธีการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงหลายวันที่ผ่านมานั้นผมได้ไปตรวจงานที่หน้างานซึ่งอยู่ในโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งนะครับ ในโครงการนี้ผมได้ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโดยใช้โครงสร้างเหล็กเป็นโครงสร้างหลักนะครับ ในโครงการนี้ผมพบว่าวิศวกรผู้ควบคุมงานของทาง ผรม นั้นเป็นรุ่นน้องวิศวกรที่จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยเก่าของผมเอง เมื่อน้องท่านนี้ทราบว่าผมเป็นรุ่นพี่ก็ดีใจใหญ่ เค้าเลยฝากคำถามมายังผม 2 เรื่องด้วยกัน ผมเห็นว่าคำตอบต่อคำถามทั้งสองข้อนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านด้วยนะครับ ในวันนี้ผมจึงตัดสินใจจะมาตอบคำถามของน้องท่านนี้นะครับ คำถามข้อแรก คือ น้องท่านนี้สอบถามผมว่า เค้าเคยศึกษาวิธีการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กโดยวิธี ALLOWABLE … Read More

ต้องการเสาเข็ม แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) เป็นที่นิยมในการต่อเติม และสามารถตอกชิดกำแพงได้ 50 ซม.

ต้องการเสาเข็ม แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) เป็นที่นิยมในการต่อเติม และสามารถตอกชิดกำแพงได้ 50 ซม. ต้องการเสาเข็มต่อเติมภายในอาคาร หรือเสริมฐานรากภายในอาคาร ต้องเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)  โดยภูมิสยาม เสาเข็มจะมีรูกลมกลวงตรงกลางเพราะผ่านการสปัน (Spun อ่านว่าสปัน แปลว่า … Read More

ต้องการต่อเติมบ้าน แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย

ต้องการต่อเติมบ้าน แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย ต้องการต่อเติมบ้าน ขยายพื้นที่บ้าน หรือในที่แคบ เช่น ข้างบ้านหรือหลังบ้าน แนะนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile เหมาะสำหรับการต่อเติมบ้าน เพราะในขณะตอกมีแรงสั่นสะเทือนน้อย ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน … Read More

1 27 28 29 30 31 32 33 83