ความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION) by ภูมิสยามฯ ภูมิความรู้

ทำไมเสาเข็มถึงต้องเกี่ยวข้องกับความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION) by ภูมิสยามฯ ภูมิความรู้

เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 030 เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 031

ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายถึงเรื่อง ความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION) กันต่อก็แล้วกันแต่ก่อนอื่นผมจะขออนุญาตเท้าความก่อนสักเล็กน้อยว่าเป็นที่ทราบกันดีก่อนหน้านี้ว่าหากเราจะทำการแบ่งประเภทของฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบรรทุกต่างๆ จากอาคารเพื่อถ่ายต่อลงไปสู่ดินเราจะสามารถทำการจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1.ฐานรากแบบตื้น
2.ฐานรากแบบลึก

ดังนั้นสำหรับของ ฐานรากแบบลึก เราจะพบว่าค่าคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงความแข็งแรงของชั้นดินนั้นจะดีกว่า ฐานรากแบบตื้น (SHALLOW FOUNDATION) ดังนั้นวิธีในการที่เราจะทำการประเมินเรื่องความลึกของหลุมเจาะในการทดสอบชั้นดินนั้นก็จะสามารถทำได้ด้วยความง่ายดายกว่ามาก แต่ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการกำหนดให้ความลึกของหลุมทดสอบให้มีขนาดความลึกที่มากกว่า ฐานรากแบบตื้น ด้วยเช่นกันครับ

สำหรับวิธีการในการประเมินเรื่องความลึกของหลุมเจาะในการทดสอบชั้นดินสำหรับ ฐานรากแบบลึก นั้นมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ครับ

เริ่มจากเราควรที่จะทำการประมาณคร่าวๆ ออกมาก่อนว่า ขนาดความยาว ของเสาเข็มที่คาดหมายว่าเราจะทำการกำหนดให้ใช้ภายในโครงการก่อสร้างนั้นจะมีขนาดความลึกของเสาเข็มเท่ากับเท่าใด โดยเราจะให้ความลึกของเสาเข็มนี้มีค่าเท่ากับระยะ D โดยที่ความลึกของหลุมทดสอบในส่วนที่ 1 หรือค่า H1 นั้นจะมีค่าเท่ากับประมาณ 2/3 เท่าของระยะ D หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

H1 = 2D/3

จากนั้นเราก็จะทำการประมาณการขนาดความกว้างที่มากที่สุดของฐานรากออกมาว่าจะมีขนาดโดยประมาณออกมาเท่ากับเท่าใด โดยเราจะให้ความกว้างของฐานรากนี้มีค่าเท่ากับระยะ B โดยที่ความลึกของหลุมทดสอบในส่วนที่ 2 หรือค่า H2 นั้นจะมีค่าเท่ากับประมาณ 3/2 เท่าของระยะ B หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

H2 = 3B/2

สุดท้ายระยะความลึกของหลุมเจาะในการทดสอบชั้นดินสำหรับ ฐานรากแบบลึก หรือค่า H ก็คือการรวมผลกันระหว่างค่าความลึกในส่วนที่ 1 และ ค่าความลึกในส่วนที่ 2 ที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้ข้างต้น หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

H = H1 + H2

ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างการคำนวณหาค่าความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับ ฐานรากแบบตื้น และ ฐานรากแบบลึก กันต่อก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมได้ในครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี 
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#รายละเอียดวิธีในการประเมินในเรื่องของความลึกของหลุมทดสอบดินของฐานรากแบบลึก

ADMIN JAMES DEAN

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. ‭397-2524‬ เสาเข็ม Spun MicroPileDia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPileที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPileแบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
Mr.Micropile

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
‭‭063-889-7987‬‬‬
‭082-790-1447‬
‭082-790-1448‬
‭082-790-1449‬