ชนิด และ ประเภทของเสาเข็ม

การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ เนื่องจากมีคำถามที่ถามมายังแอดมินเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับเรื่องชนิด และ ประเภทของเสาเข็มนะครับ ทำให้แอดมินมีความเห็นว่าเพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันของเพื่อนๆ จึงอยากที่จะขออธิบายโดยแยกประเภทของเสาเข็มดังต่อไปนี้นะครับ

(1) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลัง
(2) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ
(3) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง

โดยในวันนี้จะขอมาทำการอธิบายต่อในหัวข้อที่ (3) หัวข้อสุดท้ายต่อจากเมื่อวานนะครับ นั่นก็คือ การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้างนะครับ

 

(A) เสาเข็มตอก (DRIVEN PILE) คือ การใช้ปั้นจั่นทำการตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกตามที่ต้องการ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อน และ ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ ในปัจจุบันจะมีปัญหาในการก่อสร้างในพื้นที่ที่มีอาคารอยู่รอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนในการตอก และ การเคลื่อนตัวของดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม เนื่องจากการตอกเสาเข็มมักกระทำโดยผู้รับจ้างซึ่งอาจไม่ใช่วิศวกร การควบคุมการตอกจึงกระทำโดยขาดความรู้ได้จนนำมาซึ่งปัญหาในการทำงานได้ ดูรูปที่ (1) และ (2) ประกอบตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 006ตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 006

(B) เสาเข็ม คสล แบบเจาะหล่อในที่ (BORED PILE) คือ เสาเข็ม คสล ที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ล่วงหน้าให้เต็ม เป็นวิธีการก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาที่พบในการใช้เสาเข็มตอก ทั้งการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง การรบกวนอาคารรอบข้างเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจากการตอก รวมทั้งการควบคุมตำแหน่ง และ แนวของเสาเข็ม การเจาะเสาเข็มอาจกระทำได้โดยกระบวนการแห้ง (DRY PROCESS) คือ การเจาะโดยไม่ต้องใช้น้าช่วย สาหรับกรณีที่ดินข้างหลุมเจาะมีเสถียรภาพ โดยหากดินข้างหลุมเจาะพังทลาย ต้องใส่น้าผสมสาร เบนโทไนท์ หรือ โพลิเมอร์ ลงไปในหลุมเพื่อช่วยพยุงดินข้างหลุม เรียกว่ากระบวนการเปียก (WET PROCESS) สาหรับวิธีในการเจาะดินสามารถที่จะกระทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่ การเจาะแบบหมุน (ROTARY TYPE) แบบขุด (EXCAVATION TYPE) และ การเจาะแบบทุ้งกระแทก (PERCUSSION TYPE) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เหมาะกับการก่อสร้างขนาดเล็กในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะคับแคบ การควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างจะมีส่วนสาคัญอย่างมาก คือ การกำหนดตำแหน่งของเสาเข็ม การควบคุมแนวการเจาะให้ได้แนวดิ่ง ความสะอาดและเรียบร้อยของหลุมเจาะ การติดตั้งเหล็กเสริม และการเทคอนกรีต หากการก่อสร้างเสาเข็มเจาะกระทำโดยบริษัทที่ดี และ มีประสบการณ์แล้วมักจะอาศัยวิศวกรโยธาเป็นผู้ควบคุมดู และ คุณภาพของงานเสาเข็มเจาะ ส่วนข้อเสียของเสาเข็มประเภทนี้ก็ประกอบด้วยหลายอย่างเช่นกัน เช่น การควบคุมคุณภาพของคอนกรีตที่ทำการหล่อในหลุมเจาะนั้นจะทำได้ดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากๆ มีเศษขี้ดินจากาารเจาะดิน ทำให้สถานที่การทำงาน ณ หน้างานเกิดความสกปรก ไม่สะอาดตา เป็นต้น ดูรูปที่ (3) ประกอบตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 006

(C) เสาเข็มเจาะเสียบ (AUGER PRESS PILE) เป็นการใช้เสาเข็มสาเร็จรูป ติดตั้งโดยการเจาะดินให้เป็นรูขนาดเล็กกว่าขนาดเสาเข็มเล็กน้อยแล้วก็ทำการกดเสาเข็มลงไปในรู เป็นการแก้ปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดิน วิธีการนี้สามารถที่จะใช้การตอกแทนการกดได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดินแล้ว ยังช่วยในกรณีที่ต้องตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินที่มีค่าความแข็งแรงมากๆ ได้อีกด้วย วิธีการนี้นิยมใช้เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง ซึ่งมีรูกลวงตรงกลาง โดยในระหว่างที่ทำการกดเสาเข็มลงไปนั้น ตัวหัวสว่านซึ่งใส่อยู่ในรูเสาเข็มก็จะทำการหมุนเพื่อนำดินขึ้นมา เมื่อกดเสาเข็มพร้อมกับเจาะดินจนเสาเข็มจมลงใกล้ระดับที่ต้องการก็จะหยุดการกด จากนั้นก็ดึงดอกสว่านออกแล้วตอกด้วยลูกตุ้มจนได้ระดับที่ต้องการ ดูรูปที่ (4) ประกอบ

ตอกเสาเข็ม เสาเข็มไมโครไพล์ micropile ไมโครไพล์ spunmicropile 006

โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้นสามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้างให้อยู่ในประเภท (A) เพราะว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ได้รับการออกแบบให้ใช้วิธีในการตอกเพื่อนำเสาเข็มลงไปในดิน เพราะ ต้องถือว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำที่สุด แต่ ก็ยังสามารถที่จะควบคุมคุณภาพได้ทั้ง ก่อน และ หลัง การตอกเสาเข็มอีกด้วย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อประโยชน์ต่องานของคุณลูกค้าที่รักและเคารพของทางภูมิสยามนั่นเองครับ

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้และ ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมาจะช่วยทำให้เพื่อนๆ สามารถที่จะจำแนกถึงประเภทของเสาเข็มได้อย่างถูกต้อง และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

By ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. ‭397-2524‬ เสาเข็ม Spun MicroPileDia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPileที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPileแบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
Mr.Micropile

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
‭‭063-889-7987‬‬‬
‭082-790-1447‬
‭082-790-1448‬
‭082-790-1449‬