ความรู้เกี่ยวกับวิศกรก่อสร้างเรื่องของ ค่าสัมประสิทธิ์ผลของชั้นดิน

ค่าสัมประสิทธิ์ผลของชั้นดินลักษณะชั้นของใต้ดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

พบกันอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์แบบนี้นะครับ โดยที่ในวันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน โดยที่คำถามที่ผมได้เลือกมานั้นจะเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผมได้ทำการโพสต์ไปในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้คือ

จากรูปแสดงลักษณะของชั้นดินที่ได้จากการทำการทดสอบคุณสมบัติของดินในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง หากเราทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ และ จะทำการกำหนดว่าระบบฐานรากในการก่อสร้างอาคารหลังนี้จะใช้เป็นระบบ เสาเข็มยาว และ เราจะทำการเลือกวางปลายเสาเข็มให้อยู่ที่ระดับความลึกเท่ากับ 24 เมตร คำถามก็คือ ในการออกแบบแรงกระทำจากแผ่นดินไหว เราจะต้องใช้ค่า S หรือ ค่าสัมประสิทธิ์ผลของชั้นดิน เท่ากับเท่าใด ?

หากเพื่อนๆ ลองย้อนไปอ่านบทความของผมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็จะพบว่า ตอนที่ผมได้ทำการอธิบายถึงเรื่องค่า สัมประสิทธิ์ผลของชั้นดิน กฎกระทรวงได้ทำการกำหนดให้การรับ นน ความต้านทาน ความคงทน ของอาคาร และ พื้นดิน ที่ทำหน้าที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พศ 2550 ได้กำหนดให้ผู้ออกแบบใช้ค่าตัวคูณ S ที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะของชั้นดินที่ตั้งของอาคาร โดยที่ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1.00 สำหรับหิน 1.20 สำหรับดินแข็ง 1.50 สำหรับดินอ่อน และ 2.50 สำหรับดินอ่อนมาก ดังนั้นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะทำการกำหนดใช้ค่า S ในการคำนวณคือ เราต้องจำแนกประเภทของดินที่อยู่ใต้อาคารของเราออกมาให้ได้ว่าเป็นดินประเภทใดกันแน่นั่นเองนะครับ

เอาละ หากเรามาดูข้อมูลจากรูปการ ทดสอบดิน หรือ SOIL BORING ที่ผมได้แนบให้เพื่อนๆ ดูไปเมื่อวันก่อนก็จะพบว่าหากเราจะทำการเลือกวางปลายเสาเข็มให้อยู่ที่ระดับความลึกเท่ากับ 24 เมตร ซึ่งที่ระดับนี้ชั้นดินถูกจัดอยู่ในประเภท ชั้นดินเหนียวแข็งมากถึงดาล แต่ หากผมจะบอกกับเพื่อนๆ ว่าที่ชั้นดินชั้นนี้ ไม่ใช่ชั้นดินที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่เราจะนำมาพิจารณาในการออกแบบค่า S นะครับ

เพื่อนๆ งงกันหรือไม่ครับ ?

ถูกต้องครับ ที่ชั้นดินที่ความลึก 24 เมตร นั้นเป็นชั้นดินที่ปลายของเสาเข็มนั้นถูกวางตัวอยู่จริง แต่ สิ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากที่สุด ที่เราจะนำมาพิจารณาในการออกแบบค่า S จริงๆ คือ ประเภทชนิดของชั้นดินโดยเฉลี่ยตลอดทั้งความยาวของโครงสร้างเสาเข็ม นั่นเป็นเพราะในการพิจารณาค่า S ตามกฎกระทรวงนั้น เป็นการคำนวณค่า แรงกระทำจากแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นใน พื้นโลก ซึ่งกำลังจะถูกถ่ายเทเข้าสู่ตัว โครงสร้างของอาคาร ดังนั้นเราจะพิจารณาชนิดของดินที่เฉพาะปลายของเสาเข็มเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งหากดูจากตารางชนิดของดินจากผลการทดสอบชั้นดิน เราจะพบว่า ตั้งแต่ระดับความลึก 0 ถึง 13 เมตร เราอาจจะสามารถทำการจำแนกชนิดของชั้นดินได้ว่าเป็น ดินเหนียว แบบ อ่อนมาก ถึง อ่อน โดยที่ระดับความลึกตั้งแต่ 13 เมตร ลงไป เราก็อาจจะสามารถทำการจำแนกชนิดของดินได้ว่าเป็น ดินเหนียว แบบ แข็งน้อย ถึง แข็งปานกลาง นะครับ

หากดูดีๆ เราจะพบว่า ตั้งแต่ระดับความลึก 0 ถึง 24 เมตร ไม่ว่าดินในชั้นต่างๆ นั้นจะมีความ อ่อน หรือ แข็ง มากน้อยเพียงใด แต่ สิ่งหนึ่งที่ดินแต่ละชั้นนั้นจะมีความเหมือนๆ กันเลยก็คือ ดินในทุกๆ ระดับความลึกนั้นถือได้ว่าเป็น ดินเหนียว ซึ่ง ดินเหนียว นี้เองจะมีคุณสมบัติที่มีความสำคัญมากๆ ประการหนึ่งที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ จะลืมเลือนไปไม่ได้เลยก็คือ ดินเหนียว จะมีความสามารถในการขยายคลื่นการสั่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ประมาณ 5 เท่า ถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกันกับกรณีของ ดินแข็ง นะครับ

สรุป

สำหรับอาคารที่มีการใช้งานโครงสร้างเสาเข็มยาวเป็นระบบหลักในการรับ นน ของอาคาร เมื่อใดก็ตามหากว่าชั้นดินใต้ฐานของอาคารของเรานั้นถูกจำแนกออกมาได้ว่าเป็น ดินเหนียว ไม่ว่าปลายของเสาเข็มของอาคารของเรานั้นจะหยั่งอยู่ที่ระดับของชั้นดินใดก็ตาม ค่า S ที่เราควรนำมาใช้ในการคำนวณหาค่าแรงกระทำที่เกิดจากคลื่นแผ่นดินไหว ก็ควรที่จะมีค่าเท่ากับ 2.50 อยู่ดีนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

Mr.micropile

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ 
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449