คำถามเชิงวิชาการ ในวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กประถมชั้นปีที่หกในประเทศจีน | Knowledge เกี่ยวกับการก่อสร้าง

คำถามเชิงวิชาการ ในวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กประถมชั้นปีที่หกในประเทศจีน | Knowledge เกี่ยวกับการก่อสร้าง

วันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยที่ใจความของคำถามในวันนี้นั้นง่ายมากๆ เลยเพราะจริงๆ แล้วคำถามข้อนี้เป็นการบ้านของเด็ก นร ชั้น ป 6 ในประเทศจีน ดูแว๊บแรกอาจจะตะลึงปนงงว่าเหตุใดจึงยากขนาดนี้แต่จริงๆ แล้วไม่ยากเลยนะ ลองทำกันดูนะครับ

คำถามคือ: จงหาพื้นที่ๆ แรเงาด้วยสีแดงในภาพๆ นี้ครับ

ซึ่งพอดูคำตอบจากเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ก็จะสามารถตอบกันได้ถูกต้อง อย่างไรผมต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ตอบได้ถูกต้องเอาไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย เอาละข้อนี้ต้องการที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้อะไร และ มีวิธีการทำอย่างไร เรามาดูไปพร้อมๆ กันนะครับ

จริงๆ แล้วคำถามข้อนี้ต้องจัดอันดับว่าเป็นคำถามที่ดีข้อหนึ่งเลยนะครับเพราะคำถามข้อนี้ต้องการที่จะให้เราได้เรียนรู้ถึงเรื่องต่างๆ หลายอย่างเลยทีเดียว แต่ ใจความสำคัญเลยก็คือเรื่อง พื้นที่ของรูปทรง และ หลักการเรื่องคุณสมบัติของรูปทรงและความสมมาตร เป็นหลักนะครับ

เอาเรื่องแรกก่อนนั่นก็คือเรื่อง พื้นที่ของรูปทรง เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าในรูปๆ นี้จะมีรูปทรงอยู่ 2 รูปทรง นั่นก็คือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ รูปวงกลม ซึ่งจากขนาดและมิติที่ได้ให้มาเราจะสามารถทำการคำนวณหาขนาดของพื้นที่ของทั้งสองรูปทรงได้โดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ เลย เพราะฉะนั้นหากนักเรียนผู้ทำการบ้านข้อนี้สามารถที่จะทำการคูณเพื่อหาพื้นที่ของรูปทรงเป็น การคำนวณในขั้นตอนนี้ก็จะไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยนะครับ

ประการต่อมาคือ หลักการเรื่องคุณสมบัติของรูปทรงและความสมมาตร นั่นเป็นเพราะหากเราทราบกันดีว่า พื้นที่ของ สามเหลี่ยม นั้นจะมีขนาดเท่ากับ ครึ่งหนึ่ง ของพื้นที่สี่เหลี่ยม โดยเฉพาะ สามเหลี่ยม ซึ่งอยู่ภายในรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะฉะนั้นในปัญหาข้อนี้หากเราทำการคำนวณหาขนาดของพื้นที่ต่างๆ และทราบถึงวิธีการประยุกต์นำเอาหลักการนี้ไปใช้งานได้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอันใดเลยนะครับ

เริ่มต้นจากการคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมรูปใหญ่ก่อนนั่นก็คือพื้นที่ A1

A1 = 10×20 
A1 = 200 SQ.UNIT

ต่อมาคือคำนวณพื้นที่ของวงกลมทั้ง 2 วงซึ่งอยู่ภายใน ซึ่งเราจะทราบดีว่ารัศมีของวงกลมทั้งสองนี้มีค่าเท่ากันนั่นก็คือเท่ากับ 10 UNIT ซึ่งนั่นก็คือพื้นที่ A2

A2 = 2 x π x 10^(2) / 4 
A2 = 157.08 SQ.UNIT

ดังนั้นพื้นที่ๆ แรเงาของรูปที่ 3 ก็จะมีค่าเท่ากับพื้นที่ A1 ลบด้วยพื้นที่ของรูป A2 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ

A3 = 200 – 157.08
A3 = 42.9204 SQ.UNIT

ต่อมาก็คือรูปที่ 4 ซึ่งจะเห็นได้ว่าพอทำการขีดเส้นทแยงมุมระหว่างมุมทั้งสองด้านของสี่เหลี่ยมผืนผ้าในรูปที่ 3 ก็จะทราบได้ทันทีว่า พื้นที่ๆ แรเงาของรูปที่คำถามข้อนี้นั้นถามจะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของรูปที่ 3 นั่นเอง ซึ่ง A4 ก็คือคำตอบของปัญหาข้อนี้นั่นเองนะครับ

A4 = A3/2
A4 = 42.9204/2
A4 = 21.4602 SQ.UNIT

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์
#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์
#เฉลยปัญหาการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กประถมชั้นปีที่หกในประเทศจีน

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

Mr.micropile

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ 
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449