เทคนิคและขั้นตอนในการตรวจการทำงานการก่อสร้างฐานรากแบบแผ่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากได้มีเพื่อนของผมท่านหนึ่ง (ในเฟซบุ้ค) ได้เข้ามาพูดคุยและปรึกษากีบผมหลังไมค์ถึงเรื่องราวสัพเพเหระต่างๆ กับผมและยังได้เล่าด้วยว่าเมื่อช่วงวันหยุดยาวเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้าเพื่อนท่านนี้ได้มีโอกาสไปเที่ยวต่างจังหวัดมาและก็มีโอกาสได้ไปยังสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งพอดูแล้วก็รู้สึกคุ้นๆ ยังไงชอบกล เค้าเลยถ่ายรูปกลับมาสอบถามกับผมว่า โครงสร้างดังในรูปใช่ฝีมือการออกแบบของผมใช่หรือไม่ ผมจึงได้ตอบไปว่า ใช่ครับ โครงสร้างในรูปที่นำมาสอบถามผมนี้ผมได้ทำการออกแบบงานโครงสร้างชิ้นนี้ไวนานหลายปีแล้ว เพื่อนท่านนี้ก็ดีใจใหญ่ จึงขอร้องแกมบังคับให้ผมช่วยทำการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ของงานออกแบบชิ้นนี้ให้เค้าฟังหน่อย ซึ่งผมก็ไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไรเสียด้วย ผมก็เลยจำใจต้องนำเอาหัวข้อๆ นี้มาทำเป็นบทความเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ ด้วยน่ะครับ

 

จริงๆ แล้วหากผมจะนำเอาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับงานออกแบบและการควบคุมงานในโครงการก่อสร้างแห่งนี้มาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ น่าจะต้องใช้เวลาเยอะอยู่เพราะมีหัวข้อปลีกย่อยเยอะมากๆ ดังนั้นผมก็จะค่อยๆ ทยอยนำเอาหัวข้อทีละหัวข้อมาทำเป็นบทความในแต่ละสัปดาห์ก็แล้วกันนะครับ

 

เนื่องจากโครงการก่อสร้างแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดๆ หนึ่งทางภาคเหนือ จากผลการทดสอบดินในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ก็จะพบว่า ดินเดิมนั้นมีค่าความสามารถในการรับแรงแบกทานที่ดีถึงดีมากๆ เลยผมจึงทำการตัดสินใจว่าในการดำเนินการก่อสร้างของโครงสร้างๆ นี้ผมจะใช้ระบบของฐานรากเป็น ฐานรากแบบแผ่ หรือ BEARING FOUNDATION หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า ฐานรากแบบตื้น หรือ SHALLOW FOUNDATION นั่นเอง ดังนั้นในวันนี้จะขอเริ่มต้นทำการอธิบายถึง เทคนิคและขั้นตอนในการตรวจการทำงานการก่อสร้างฐานรากแบบแผ่ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเจ้าฐานรากแบบตื้นนี้โดยตรงเลยก็แล้วกันนะครับ

จริงๆ แล้ววิธีในการที่จะทำงานการตรวจสอบถึงขั้นตอนโดยละเอียดนั้นจะมีมากกว่าที่ผมกำลังจะกล่าวถึงในบทความๆ นี้อยู่ค่อนข้างมากเลยนะครับ เพราะฉะนั้นก็ต้องถือว่าเทคนิคและขั้นตอนในการตรวจการทำงานการก่อสร้างฐานรากแบบแผ่ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้เป็นข้อมูลจำเพาะที่ค่อนข้างจะเน้นไปในส่วนที่มีความสำคัญจริงๆ ในการทำงานครับ

 

  1. ขุดดินให้มีความลึก ขนาด และตำแหน่งของถูกต้องตามแบบก่อสร้างโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร ในการขุดดินนั้นต้องเผื่อการบดอัดทรายหรือกรวด เทคอนกรีตหยาบ (LEAN CONCRETE) เผื่อการเข้าแบบด้านข้าง ถ้าดินมีลักษณะอ่อนตัวเป็นดินเหลวเป็นโคลน ให้ขุดดินอ่อนออกจนหมดแล้วใช้ทรายถม หากดินไม่เหลวมากก็ให้ทำการเทคอนกรีตหยาบเพื่อรองรับเหล็กเสริมที่จะทำฐานราก หรือออกแบบฐานรากให้สูงขึ้น ในกรณีที่ดินลื่นไถลอาจขุดดินให้มีความลาดเพื่อป้องกันดินพังทลาย หรือใช้แผ่นเหล็กหรือวัสดุอื่นที่สามารถนำมาตอกโดยรอบ เพื่อป้องกันดินพังทลายลงในขณะก่อสร้างฐานรากด้วย

 

  1. ตรวจสอบความลึกหรือระดับดินที่ก้นหลุมก่อนหนึ่งครั้ง เมื่อระดับดินขุดได้ตามที่ต้องการแล้วก็ค่อยทำการบดอัดทรายหรือกรวดเพื่อให้ดินมีความแน่นตัวดีและสามารถที่จะรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น

 

  1. เมื่อบดอัดดินจนแน่นแล้วก็ให้ทำการตรวจสอบระดับดินที่บดอัดจนแน่นของฐานราก จากนั้นก็ทำการเทด้วยคอนกรีตหยาบทับไปบนทรายบดอัดแน่น โดยที่ความหนาของคอนกรีตหยาบก็ต้องเป็นไปตามแบบก่อสร้าง ทั้งนี้การเทคอนกรีตหยาบก่อนการวางฐานรากจะช่วยป้องกันมิให้เกิดการกัดเซาะของน้ำใต้ฐานรากของเราได้นะครับ

 

  1. เมื่อเทคอนกรีตหยาบเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ทำการติดตั้งแบบหล่อฐานราก ซึ่งก็มักจะใช้แบบหล่อที่ทำจาก ไม้ หรือ เหล็ก หรือบางครั้ง ผรม บางคนก็อาจจะเลือกใช้วิธีการก่อด้วย อิฐ เพื่อทำหน้าที่เป็นแบบหล่อก็ได้ ต้องไม่ลืมที่จะทำการค้ำยันทางด้านข้างให้ดีและแข็งแรงด้วย สำหรับงานฐานรากที่มีการก่อสร้างบนดินเหนียวที่มีลักษณะเป็นดินเลนอาจจะมีปัญหาเรื่องการค้ำยันทางด้านข้างบ้างและบางครั้งแบบที่ใช้ในการเทคอนกรีตก็มีโอกาสที่จะแตกออกได้ ดังนั้นควรเทคอนกรีตหยาบเพื่อที่จะทำการรองพื้นก่อนทำการค้ำยันทางด้านข้างของแบบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้สามารถทำหน้าที่ยึดและค้ำยันให้มีแข็งแรงเพียงพอได้นะครับ

 

  1. ทำการวางเหล็กเสริมฐานรากและเสาตอม่อ ในขั้นตอนนี้จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบศูนย์กลางเสาตอม่อ ขนาดและระยะงอต่างๆ ของเหล็กเสริมก็ต้องเป็นไปตามแบบก่อสร้าง หรือ เป็นไปตามมาตรฐาน ว.ส.ท. ที่สำคัญที่สุดคือ ระยะหุ้มของคอนกรีตจนถึงผิวของเหล็กเสริมต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 75 มม เสมอนะครับ

 

  1. ทำการเทคอนกรีตฐานราก โดยก่อนการเทคอนกรีตจะต้องทำความสะอาดให้ดีและเกลี้ยงเสียก่อน ทำการคำนวณหาค่าของระดับในการเทคอนกรีตโดยอาจจะใช้กล้องระดับหาค่าระดับเทียบกันกับระดับอ้างอิงเพื่อให้ได้ขนาดความหนาของฐานรากตามที่ต้องการตรงกับในแบบก่อสร้าง ก่อนที่จะเริ่มการทำงานการเทคอนกรีตสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำอย่างหนึ่งก็คือ ทำการราดด้วยน้ำปูนลงไปในแบบหล่อเสียก่อนจากนั้นจึงค่อยทำการเทคอนกรีต โดยที่กำลังของคอนกรีตและค่าการยุบตัว (SLUMP) ก็จะต้องเป็นไปตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ในแบบก่อสร้างด้วย ประการสุดท้ายคือ ต้องมีการเก็บตัวอย่างของคอนกรีตที่ใช้ในการเทคอนกรีต ทั้งนี้ก็เพื่อนำตัวอย่างเหล่านี้ไปทำการทดสอบเพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าค่ากำลังอัดจริงๆ นั้นตรงกันกับที่ทางผู้ออกแบบได้กำหนดมาหรือไม่นะครับ

 

  1. ทำให้คอนกรีตแน่นสม่ำเสมอด้วยการกระทุ้งด้วยมือหรืออาจทำโดยการสั่นด้วย เครื่องสั่นคอนกรีต หรือที่ในภาษาอังกฤษเราจะนิยมเรียกเจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่า VIBRATOR โดยเมื่อทำการเทคอนกรีตได้ระดับตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ในแบบก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะทำการตกแต่งผิวหน้าของคอนกรีตที่ได้ทำการเทเสร็จแล้วด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เมื่อผิวของคอนกรีตนั้นเริ่มที่จะเกิดการแห้งตัวแล้ว ผิวของคอนกรีตนี้ก็จะได้ออกมาแลดูมีความเรียบร้อยและสวยงามนั่นเองครับ

 

อย่างไรในครั้งต่อไป ผมจะทำการอธิบายและหยิบยกตัวอย่างถึงเรื่องราวอะไร เพื่อนๆ ที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามรับชมบทความนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้าต่อไปครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#อธิบายและยกตัวอย่างถึงเทคนิคในการออกแบบและควบคุมงานวิศวกรรมโครงสร้างครั้งที่หนึ่ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com