ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ เกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมงานฐานรากและงานดินนั่นก็คือ โครงสร้างป้องกันมิให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES นั่นเองนะครับ

 

จุดประสงค์ของการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพังนั้นก็ค่อนข้างที่จะตรงไปตรงมานั่นก็คือ การป้องกันการเคลื่อนตัวของมวลดิน มิให้ดินเกิดการเคลื่อนที่เข้ามาสู่ตัวโครงสร้างจนโครงสร้างของเรานั้นเกิดการวิบัติขึ้น ทั้งนี้การประยุกต์ใช้งานเจ้าโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพังในทางวิศวกรรรมนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายเลย เช่น งานดินถม งานดินขุด งานสะพาน งานโครงสร้างเพื่อป้องมิให้น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนมากแล้วโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพังนั้นมักที่จะก่อสร้างขึ้นในรูปแบบของกำแพงหรือ WALL ที่จะทำหน้าที่ในการกันดินโดยวัสดุที่นิยมถูกนำมาสร้างมากที่สุดก็คือ คอนกรีต และ เหล็ก ตามลำดับครับ

 

โดยหากเราจะทำการจำแนกประเภทของโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพังนั้นออกเป็นประเภทหลักๆ เราก็พอที่จะทำการแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

 

  1. โครงสร้างกำแพงกันดินซึ่งจะอาศัยกลไกจากน้ำหนักของตัวเองในการรับแรง หรือ GRAVITY WALL

 

สาเหตุที่ชื่อของกำแพงชนิดนี้คือ GRAVITY WALL นั่นเป็นเพราะว่า เสถียรภาพของกำแพงกันดินชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวมันเองเป็นหลัก ซึ่งโดยมากแล้วการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดนี้จะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองค่อนข้างที่จะมากเพราะตัวกำแพงเองจะต้องมีขนาดของตัวกำแพงเองที่มากเพียงพอที่จะต้านทานแรงดันของดินที่เข้ามากระทำทางด้านข้างกับตัวของกำแพงกันดินให้ได้ การใช้กำแพงกันดินชนิดนี้อาจจะเหมาะสมกับความสูงของดินที่ไม่มากนัก ซึ่งนั่นคือเหตุผลว่าเพราะเหตุใดเราจึงไม่ค่อยนิยมนำเอาเจ้ากำแพงชนิดนี้ไปใช้ในการก่อสร้างเพื่อที่จะใช้ต้านทานมวลดินที่มีขนาดมากๆ นะครับ

 

  1. โครงสร้างกำแพงกันดินแบบยื่นซึ่งจะอาศัยกลไกอื่นๆ ในการรับแรง หรือ CANTILEVER WALL

 

สำหรับกรณีที่กำแพงกันดินของเรานั้นมีขนาดความสูงที่มากๆ ซึ่งพอพิจารณาแล้วก็อาจจะพบว่า การใช้กำแพงกันดินแบบ GRAVITY WALL อาจจะไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ซึ่งการที่ดินนั้นมีขนาดความสูงที่มากๆ ก็จะทำให้แรงดันดินทางด้านข้างก็จะมีค่าที่มากตามไปด้วยและก็จะยิ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้กำแพงกันดินนั้นเกิดการพลิกคว่ำหือ OVERTURN ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เราก็อาจที่จะเลือกใช้กำแพงกันดินชนิดนี้ ซึ่งจะมีส่วนฐานของกำแพงที่ยื่นออกมาอยู่ใต้ส่วนที่เป็นดินถม ซึ่งก็จะทำให้น้ำหนักของดินถมที่อยู่เหนือส่วนของฐานนี้ช่วยป้องกันการพลิกคว่ำดังกล่าว

 

ดังนั้นการที่เราจะเลือกใช้ระบบของกำแพงที่จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพังเป็นแบบใดแบบหนึ่งนั้น เราอาจจะต้องทำการประเมินและพิจารณาจากหลายๆ อย่างรวมกัน เช่น เรื่องของงบประมาณในการก่อสร้าง เรื่องวิธีการและข้อจำกัดต่างๆ ที่มีในงานก่อสร้าง เรื่องของวัสดุที่จะสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น พอเราทำการพิจารณาดูเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราก็ค่อยมาทำการวิเคราะห์และออกแบบดูซิว่า เราจะเลือกใช้ระบบของกำแพงที่จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพังนั้นเป็นแบบใดกันแน่ ทั้งนี้เพื่อให้กำแพงของเรานั้นจะได้ทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดนั่นเองครับ

 

ยังไงในครั้งต่อๆ ไปที่เราจะได้มาพบกัน ผมก็จะค่อยๆ ทยอยนำเอาความรู้ต่างๆ ทีละหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง โครงสร้างกำแพงกันดิน นี้มาบอกเล่าให้เพื่อนๆ ได้ค่อยๆ รับทราบกันไปทีละขั้นทีละตอน หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพัง

#ตอนที่1

#ประเภทของกำแพงที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างป้องกันมิให้ดินพัง

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com