เหตุใดเค้าจึงทำการเลือกใช้ “หิน” เป็นวัสดุที่โรยเอาไว้เพื่อรองใต้ทางรถไฟ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ครับว่าในทางรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นขบวนแบบใด จะเป็นรถไฟที่มีความช้า หรือ จะมีความเร็วก็ตาม เหตุใดเค้าจึงทำการเลือกใช้ “หิน” เป็นวัสดุที่โรยเอาไว้เพื่อรองใต้ทางรถไฟกัน เราจะใช้วัสดุอื่นๆ ทดแทน ได้ หรือ ไม่ อย่างไร ?

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ในประเด็นๆ นี้กับเพื่อนๆ นะครับ โดยคำตอบของประเด็นว่าเราจะใช้วัสดุอื่นๆ ทดแทน ได้ หรือ ไม่ ผมขออนุญาตตอบได้เลยนะครับว่า ได้ นะครับ แต่ แน่นอนว่าการเลือกใช้งานวัสดุรองที่แตกต่างกันนี้ก็ย่อมที่จะให้ ผลลัพธ์ รวมไปถึงต้นทุน ที่มีความแตกต่างกันนะครับ

ก่อนอื่นผมขอเริ่มต้นจากการให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสรู้จักกับเจ้าหินชนิดนี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ โดยหินชนิดนี้มีชื่อว่า “หินโรยทาง” หรือ ที่ในภาษาอังกฤษเราจะมีชื่อเรียกว่า BALLAST STONE นั่นเองนะครับ

หินชนิดนี้จะทำหน้าที่ยึดไม้หมอนที่คอยรองรับรางรถไฟซึ่งจะทำจากวัสดุที่เป็นเหล็กให้อยู่ในสภาพคงที่โดยให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่ง (DISPLACEMENT) ที่น้อยที่สุด สาเหตุเป็นเพราะว่ารถไฟถือว่าเป็นยานพาหนะที่มีความเร็วและมวลมหาศาลมากอย่างหนึ่งในบรรดายานพาหนะที่เรารู้จักกันดี ดังนั้นเมื่อตัวรถไฟต้องเคลื่อนที่ผ่านไปบนรางรถไฟ จะทำให้เกิดพลังงาน (ENERGY) มหาศาลขึ้นบนรางรถไฟ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดผลตอบสนอง (RESPONSE) มากมายรวมไปถึงค่าการสั่นสะเทือน (VIBRATION) ที่สูงมากๆ ทำให้วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสภาวะผลตอบสนองทางพลศาสตร์ (DYNAMICS RESPONSE) ของรถไฟที่จะเกิดขึ้นกับรางรถไฟและฐานรองรับรางรถไฟนี้ด้วย

จากนั้นเจ้าหินโรยทางนี้ก็จะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นฐานรากแบบยืดหยุ่นตัวได้ (FLEXIBLE FOUNDATION) คอยทำการกระจาย นน จากทางด้านบนให้กระจายตัวลงไปสู่ดินคันทางที่อยู่ข้างล่างนะครับ

คราวนี้ถ้าเราย้อนกลับมาดูหน้าที่หลักของเจ้าหินโรยทางนี้อีกครั้งหนึ่ง คือ ยึดให้รางเหล็กอยู่ในสภาพคงที่โดยให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งที่น้อยที่สุด หน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ๆ ถือว่ามีความสำคัญมากๆ ต่อปัจจัยในการเลือกใช้งานวัสดุนะครับ เพราะ ผลตอบสนองหนึ่งเมื่อรถไฟวิ่งผ่านไปบนราง คือ รางจะสามารถเกิดการขยายตัวออกไปได้เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น (THERMAL EXPANSION) พื้นดินที่รองรับอยุ่ข้างใต้จะเกิดการเคลื่อนตัว (SETTLEMENT) เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนมหาศาลที่เกิดขึ้นเมื่อรถไฟต้องวิ่งผ่าน ซึ่งอาจจะต้องรวมผลอื่นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบกับตัวโครงสร้างของเราเข้าไปด้วย เช่น สภาพอากาศแวดล้อมที่ค่อนข้างจะมีความแปรปรวน สภาพของดินฟ้าอากาศที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป็นต้น

จากข้อมูลของเพจ การจัดการองค์ความรู้ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้คำอธิบายเอาไว้ว่า ในปัจจุบันทางรถไฟในประเทสของเราจะใช้ทั้ง หินโรยทาง (BALLAST TRACK) และ ไม่ใช่หินโรยทาง (NON-BALLAST TRACK) ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างกันออกไปนะครับ

เรามาเริ่มต้นดูกรณีที่เราเลือกใช้วัสดุนี้เป็นหินโรยทางกันก่อนนะครับ โดยเพื่อนๆ สามารถจะดูรูปประกอบที่ 1 ซึ่งแนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ

สำหรับข้อดีของการเลือกใช้ หินโรยทาง คือ เป็นวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ แทบที่จะไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตใดๆ ก็สามารถที่จะนำมาใช้งานได้ แถมยังไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียงอีกด้วย หรือ พูดง่ายๆ คือ เสียงที่เกิดจะมีความนุ่มนวล ก่อให้เกิดความน่ารำคาญใจที่น้อยนั่นเองนะครับ ส่วนข้อเสียของการใช้ หินโรยทาง คือ เมื่อใช้งานไปสักพักหนึ่งเราจำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการบำรุงรักษาบ้าง โดยต้องทำการล้างหิน จัดเรียงหิน และ อัดหินเพิ่มเติม นะครับ

กรณีที่เราเลือกใช้วัสดุที่ไม่ใช่หินโรยทางกันบ้างนะครับ โดยเพื่อนๆ สามารถจะดูรูปประกอบที่ 2 ซึ่งแนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ

สำหรับทางรถไฟที่ไม่ใช่หินโรยทาง คือ การวางรางรถไฟไปบนวัสดุใดๆ ก็ได้ที่ไม่ใช่หิน ซึ่งในปัจจุบันเราอาจเลือกใช้งาน แผ่น คอร หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า SLAB TRACK หรือ อาจจะเลือกทำการวางรางลงบนหมอนคอนกรีตที่วางตัวอยู่บนพื้นคอนกรีตที่มีช่องบังคับ ก็ได้นะครับ

ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีของการเลือกวัสดุรองรับที่ไม่ใช่หินโรยทาง คือ จะเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการดูแลรักษาที่น้อยกว่าวัสดุที่เป็นหินโรยทาง แต่แน่นอนข้อเสีย คือ จะมีต้นทุนที่สูงกว่านั่นเองครับ

ปล ต้องขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ การจัดการองค์ความรู้ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย และ รูปภาพจากอินเตอร์เน็ตด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com