เราสามารถที่จะทำการแบ่งออกได้เป็นการทดสอบเสาเข็มแบบใดได้บ้าง และ หากเราต้องการที่จะทำการทดสอบว่าเสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เราควรที่จะใช้วิธีการใดในการทดสอบ ?

เราสามารถที่จะทำการแบ่งออกได้เป็นการทดสอบเสาเข็มแบบใดได้บ้าง และ หากเราต้องการที่จะทำการทดสอบว่าเสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เราควรที่จะใช้วิธีการใดในการทดสอบ ?

spun micropile micropile ไมโครไพล์

ประเภทของการทดสอบเสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ

1. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (PILE INTEGRITY TEST)
ในการทดสอบเสาเข็มตามกรรมวิธีนี้ เราอาจจะทำการทดสอบเสาเข็มได้โดยวิธี SEISMIC TEST ก็ได้นะครับ ซึ่งข้อจำกัดจริงๆ ของการทดสอบโดยวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกับ เสาเข็มเจาะ หรือ เสาเข็มตอกที่มีจำนวนท่อนเพียง 1 ท่อน เท่านั้นนะครับ สาเหตุก็เป็นเพราะว่า ในขั้นตอนของการทดสอบโดยวิธีการนี้จะอาศัยการสะท้อนของคลื่นที่ถูกส่งผ่านลงไป และ ให้คลื่นนั้นสะท้อนกลับมาและทำการอ่านค่า ซึ่งหากเป็นเสาเข็มที่มีจำนวนหลายท่อนต่อแล้วเราจะพบว่าที่รอยต่อของเสเข็มเหล่านั้นจะมีแผ่นเหล็กเชื่อมต่ออยู่ทุกๆ รอยต่อ ดังนั้นพอคลื่นที่เราส่งลงไปเจอแผ่นเหล็กนี้เข้าก็จะสะท้อนกลับมาในทันที ทำให้ค่าที่อ่านได้จากเครื่องทดสอบจะไม่ใช่สถานะจริงๆ ที่เสาเข็มนั้นควรจะเป็นนั่นเองครับ

การทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็มด้วยวิธีการ SEISMIC TEST นี้มีจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการประเมินสภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของตัวโครงสร้างของเสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบที่สะดวก รวดเร็ว และ เสียค่าใช้จ่ายต่ำ จึงถือว่ามีความเหมาะสม และ เป็นที่นิยมใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ในขั้นต้น (PRELIMINARY TEST) หากว่าทำการตรวจสอบแล้วพบว่าเสาเข็มของเรานั้นมีสภาพที่บกพร่องขึ้น เราจึงค่อยทำการกำหนดวิธีการทดสอบอื่น ๆ ประกอบกับพิจารณา หรือ ดำเนินการซ่อมแซมตัวโครงสร้างเสาเข็มเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่อไป การทดสอบนี้จะระบุถึงข้อบกพร่องต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น รอยแตกร้าว (CRACK) โพรง หรือ ช่องว่าง (VOID) รอยคอด (SIZE REDUCTION) หรือ บวม (SIZE INCREASE) ของตัวดครงสร้างของเสาเข็มได้ เป็นต้นครับ

2. การทดสอบการรับ นน ของเสาเข็ม (PILE LOAD TEST)
ในการทดสอบเสาเข็มตามกรรมวิธีนี้ก็จะเหมือนที่ผมเคยได้ทำการยก ตย ไปก่อนหน้านี้แล้วนะครับว่าอาจทำได้ด้วย 2 วิธีหลักๆ คือ การทดสอบการรับ นน ด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST) และ การทดสอบการรับ นน ด้วยวิธีสถิตศาสตร์ (STATIC LOAD TEST) ซึ่งข้อดีและข้อจำกัดต่างๆ ในการทดสอบทั้ง 2 แบบนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถที่จะไปหาอ่านได้จากในโพสต์ของผมที่ผ่านมาก่อนหน้านี้นะครับ

สรุป แน่นอนนะครับว่าหากเราต้องการที่จะทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม เราต้องทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มนั่นเอง แต่ หากว่าเสาเข็มของเราเป็นเสาเข็มตอกหลายท่อนต่อกันละ จะทำอย่างไร ?

จริงๆ แล้วหากเพื่อนๆ ต้องพบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไปนะครับ เพราะ หากว่าเสาเข็มของเราเป็นเสาเข็มตอกหลายท่อนต่อกันแล้วจริงๆ และ มีความคลางแคลงในใจว่าเสาเข็มของเราอาจที่จะเกิดความไม่สมบูรณ์ขึ้น หากแม้นว่าเราอาจจะไม่สามารถใช้วิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มซึ่งเป็นวิธีการโดยตรงไม่ได้ แต่ เราก็ยังสามารถที่จะใช้วิธีการทางอ้อมในการทดสอบเสาเข็มแทนก็ได้นะครับ เช่น เราอาจทำการทดสอบการรับ นน ของเสาเข็มโดยวิธีพลศาสตร์ก็ได้ เพราะ ในการทดสอบโดยวิธีการนี้ ผลจากการทดสอบจะสามารถอ่านค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็มได้ด้วย ซึ่งก็จะทำให้เราทราบว่าเสาเข็มของเรามีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ และ ยังทำให้ทราบอีกด้วยว่าค่าการรับ นน ของเสาเข็มนั้นอยู่ในเกณฑ์ตามที่ได้ออกแบบเอาไว้หรือไม่เป็นของแถมอีกด้วยนะครับ ดังนั้นข้อเสียของการทดสอบด้วยวิธีการนี้จึงมีเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการทดสอบจะมีมูลค่าที่สูงกว่าการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มที่เราทำกันทั่วๆ ไปนั่นเองครับ เป็นต้น

ในตอนท้ายของโพสต์ๆ นี้ผมอยากที่จะฝากความรู้เล็กๆ ในการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มแก่เพื่อนๆ เอาไว้สักเล็กน้อยด้วยก็แล้วกันนะครับ เมื่อทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มแล้วจะปรากฏผลที่เป็นค่า PARAMETER ค่าหนึ่งขึ้น ซึ่งค่าๆ นี้เป็นผลจากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม นั่นก็คือค่า β นั่นเอง ซึ่งค่าๆ นี้ก็คือ ดัชนีที่จะใช้ในการประเมินระดับความเสียหายของโครงสร้างเสาเข็ม (DEGREE OF DAMAGE) นะครับ

โดยที่ค่า β นี้จะมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 1.00 ซึ่งหากผลแสดงออกมาว่าค่า β นี้เท่ากับ 1.00 ก็จะแสดงให้เห็นว่า เสาเข็มของเรานั้นมีความสมบูรณ์ดีมากๆ หากค่านี้ลดลงไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการแสดงและบ่งบอกให้ทราบถึงลักษณะของสถานะความสมบูรณ์ของตัวโครงสร้างเสาเข็มของเราได้อีกด้วย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถที่จะอ่านดูว่าค่าเกณฑ์ของระดับสถานะความเสียหายของโครงสร้างเสาเข็มนี้เป็นอย่างไรก็สามารถอ่านได้จากตารางที่ผมได้ทำการแนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1591797634199689

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15