การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)
สปันไมโครไพล์-ไมโครไพล์-micro-pile-spunpile-spunmicropile

วันนี้ผมมีข้อพึงระวังเล็กๆ น้อยๆ ในการทำงานโครงสร้าง คอร ที่ดูเหมือนน่าที่จะสามารถทำได้โดยง่ายแต่ก็จะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่าพวกเราก็มักจะทำผิดพลาดกันอยู่เป็นประจำเลย สิ่งนั้นก็คือข้อผิดผิดพลาดเวลาที่เราทำการเทพื้นบันได คสล เรามักจะทำการเทหรือกระทุ้งคอนกรีตบริเวณรอยต่อระหว่างโครงสร้างพื้น คอร และ ตัวโครงสร้างบันไดไม่ดีเท่าที่ควร

เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในเวลาที่เราได้ทำการเทโครงสร้างพื้น คอร เสร็จไปแล้วและได้ทำการเข้าแบบเพื่อที่จะทำการเทพื้นบันไดต่อ ปรากฏว่าในณะที่ทำการเทคอนกรีตนั้นเนื่องด้วยโครงสร้างพื้นของบันไดส่วนใหญ่นั้นค่อนข้างที่จะมีความบาง ทำให้มีพื้นที่สำหรับการกระทุ้งให้คอนกรีตนั้นมีความแน่นตัวทำได้ยาก เวลาที่เราได้ทำการแกะแบบท้องพื้นที่ทำหน้าที่รับบันได คสล ออกมาในภายหลังจากที่ได้ทำการเทคอนกรีตเสร็จแล้ว เราก็มักจะพบเห็นได้บ่อยๆ ด้วยตาเปล่าเลยว่าจะมีช่องว่างระหว่างโครงสร้างพื้น คอร และ ตัวโครงสร้างบันไดเกิดขึ้นอยู่เสมอ

วิธีการป้องกันก็ค่อนข้างง่ายๆ ตรงไปตรงมาแค่ต้องอาศัยความใส่ใจและความระมัดระวังนิดนึงนั่นก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้บริเวณนี้ไม่เกิดเป็นโพรงหรือช่องว่าง เช่น อาจจะเลือกใช้คอนกรีตที่มีค่าการยุบตัวที่ค่อนข้างสูง หรือ ตอนที่ทำการเทคอนกรีตต้องมีการจี้และกระทุ้งคอนกรีตในบริเวณนี้ให้ดีๆ เป็นต้นนะครับ

สปันไมโครไพล์-ไมโครไพล์-micro-pile-spunpile-spunmicropile

สำหรับวิธีในการแก้ปัญหาเมื่อพบเจอคอนกรีตเกิดเป็นโพรงหรือช่องว่างในลักษณะแบบนี้คือควรต้องทำการเทโพรงหรือช่องว่างที่เกิดขึ้นนี้ให้เต็มด้วยปูนกำลังสูงที่มีคุณสมบัติในด้านการไหลตัวที่ดี ซึ่งทำจะทำหน้าที่เข้าไปอุดภายในช่องว่างที่เกิดขึ้นในตัวโครงสร้าง เช่น EPOXY GROUT หรือ NON-SHRINK GROUT เป็นต้น เพราะถึงแม้ในบริเวณนี้จะมีโครงสร้างคอนกรีตอยู่บ้างในบางส่วนอยู่แล้วโดยที่บริเวณที่เกิดเป็นโพรงหรือช่องว่างนี้จะไม่เกิดแรงอัดในเนื้อผิวของคอนกรีต ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คอนกรีตนั้นจะไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่และด้วยพื้นที่ของตัวคอนกรีตเองก็อาจที่จะยังสามารถรับแรงเฉือนที่เกิดขึ้นได้ แต่ เป้าหมายหลักที่ต้องทำการเทปิดผิงบริเวณนี้ด้วยปูนเกราท์โครงสร้างก็เพราะเพื่ออายุการใช้งานของโครงสร้างหรือ DURABILITY ด้วยนะครับ

ทั้งนี้เป็นเพราะเพื่อนๆ ก็ต้องไม่ลืมว่า หากปราศจากซึ่งคอนกรีตที่จะคอยทำหน้าที่ห่อหุ้มตัวเหล็กเสริมภายในเอาไว้ ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวของเหล็กเสริมนั้นเกิดสนิมได้โดยง่าย เมื่อเกิดสนิมขึ้นในเนื้อเหล็กก็จะส่งผลทำให้ลดอายุการใช้งานของตัวโครงสร้างลงซึ่งก็คงไม่มีใครต้องการที่จะให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอย่างแน่นอนนะครับ

Ref: https://www.facebook.com/bhumisiam

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun