วิศวกรรมเทคนิคงานก่อสร้าง (CONSTRUCTION TECHNIQUE ENGINEERING หรือ CTE)

วิศวกรรมเทคนิคงานก่อสร้าง (CONSTRUCTION TECHNIQUE ENGINEERING หรือ CTE)

spun micropile micropile ไมโครไพล์

โดยที่ในวันนี้ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงปัญหาพื้นฐานของบ้านที่เรามักจะพบเจออยู่เป็นประจำเลยนะครับ นั่นก็คือ โคนผนัง หรือ ส่วนโคนเสาโครงสร้าง มีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา นั่นเองนะครับ

ในบางครั้งเมื่อเราต้องประสบพบเจอกับปัญหาแบบนี้ มันก็อาจที่จะลุกลามใหญ่โตไปจนถึงขั้นที่สีนั้นลอก หรือ เกิดเชื้อราขึ้นในบริเวณๆ นี้ก็ได้นะครับ โดยมากแล้วปัญหาแบบนี้จะเกิดขึ้นที่ความสูงประมาณ 0.30 ม ถึง 0.50 ม จากระดับพื้น ซึ่งในบางครั้งหากปริมาณความชื้นนั้นมีมากๆ ก็อาจที่จะมากกว่านั้นก็ได้นะครับ โดยที่เราจะพบค่อนข้างบ่อยกับอาคารที่มีมาตรฐานการก่อสร้างที่ไม่ดีนักนะครับ เพราะ สาเหตุของปัญหานี้เกิดจากการที่ใต้พื้นนั้นมีน้ำขังสะสมจนความชื้นนั้นซึมผ่านขึ้นมา ดังนั้นไม่ว่าเราจะใช้สีประเภทใด จะดีแค่ไหนก็แล้วแต่ก็มิอาจที่จะแก้หรือป้องกันปัญหานี้ได้นะครับ ผนวกกับการที่วัสดุคอนกรีตโครงสร้างที่เราใช้ทำการก่อสร้างบ้านหรืออาคารของเรานั้นนั้นมีคุณภาพที่ไม่ดีเพียงพอด้วย เช่น หากว่าคอนกรีตมีลักษณะที่ไม่แน่นตัว ก็จะทำให้คอนกรีตนั้นมีคุณสมบัติที่ไม่ดี คือ น้ำสามารถที่จะซึมผ่านได้ง่าย เป็นต้นนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องพบเจอกับปัญหาลักษณะแบบนี้ เพื่อนๆ ก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับเพราะวันนี้ผมมีวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้มาแนะนำให้แก่เพื่อนๆ ทราบดังนี้นะครับ

เริ่มต้นจากการที่เพื่อนๆ ควรพยายามที่จะสำรวจดูก่อนนะครับว่าน้ำที่ขังอยู่นั้น มีมากหรือน้อยเพียงใด สามารถที่จะระบายออกไปได้หรือไม่ ถ้าทำได้ก็จะเป็นการดีที่สุดเลยนะครับ ต่อมาคือทำการสำรวจสภาพของผนังและโครงสร้าง สำหรับผนังนั้นอาจจะซ่อมแซมได้ง่ายกว่ากรณีที่เป็นโครงสร้างนะครับ เราอาจจะต้องทำการจัดให้บริเวณๆ นั้นมีการระบายอากาศที่ดีขึ้น และ เราอาจที่จะเลือกทำการเปลี่ยนสภาพของพื้นผิวของผนังให้มีความทนทานต่อความชื้นเพิ่มมากยิ่งขึ้น เช่น จากผิวผนังที่เดิมทีแค่ทาสีเฉยๆ ก็อาจที่จะทำการบุด้วยกระเบื้องทับพื้นผิวนั้นๆ แทน เป็นต้นนะครับ แต่ หากว่าเป็นโครงสร้าง ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าโครงสร้างมีรอยแตกร้าว ก็ให้ทำการตรวจสอบดูว่าเหล็กเสริมในโครงสร้างนั้นๆ เป็นสนิมขุม หรือ ไม่ หากว่ายังไม่เป็นสนิมขุม ก็ให้ทำความสะอาด จากนั้นก็ทาผิวของเหล็กเสริมด้วยน้ำยากันสนิม และ น้ำยาประสานคอนกรีต และ ก็ทำการฉาบปิดผิวด้วยซีเมนต์ซ่อมโครงสร้างชนิดไม่หดตัว หรือ ที่เราเรียกกันจนติดปากว่า NON-SHRINK GROUT นะครับ แต่ หากว่าทำการสำรวจแล้วพบว่าเหล็กเสริมนั้นเป็น สนิมขุม (สนิมชนิดนี้ไม่ใช่ สนิมแดง เหมือนกับที่ท่าน อ สำเริง ได้อธิบายแก่เพื่อนๆ ไปก่อนหน้านี้นะครับ) เราอาจที่จะต้องทำการเสริมหน้าตัดโครงสร้างด้วยเหล็กเสริมพิเศษเพิ่มเติมเข้าไป โดยที่ในบางครั้งก็อาจที่จะต้องทำการขยายหน้าตัดคอนกรีตโครงสร้างด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1623795880999864
Bhumisiam (ภูมิสยาม)

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์