การทดสอบ ตย ดินเพื่อนำผลคุณสมบัติของดินนี้มาออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเสาเข็มของโครงการ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากช่วงนี้มีงานขึ้นใหม่หลายตัว จำเป็นจะต้องมีการทดสอบ ตย ดินเพื่อนำผลคุณสมบัติของดินนี้มาออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเสาเข็มของโครงการ ประกอบกับการที่ผมมักจะสังเกตเห็นว่ามีเพื่อนหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าวิธีในการทดสอบตัวอย่างดินนั้นทำได้กี่วิธีกันแน่ ? วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เรื่องวิธีในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปทดสอบในห้องปฎิบัติการให้แก่เพื่อนๆ ให้ได้ทราบกันนะครับ

education knowledge spunmicropile micropile

เนื่องจากลักษณะและคุณสมบัติของดิน มีความสำคัญต่อการออกแบบฐานรากของโครงสร้าง โดยเฉพาะคุณสมบัติด้านกำลังความแข็งแรงของดิน ในการเจาะเก็บตัวอย่างดินจะต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนน้อยที่สุด เพราะดินบางชนิดมีความไวตัว (SENSITIVITY) สูงเมื่อถูกแรงกระทำอาจทำให้โครงสร้างของดินนั้นเปลี่ยนแปลงไป ผลที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการก็จะผิดไปจากความเป็นจริง ดังนั้นจึงควรเลือกวิธีการเจาะสำรวจชั้นดินที่เหมาะสมกับงานก่อสร้าง ซึ่งขั้นตอนและขบวนการเจาะสำรวจชั้นดินในแต่ละหลุม อาจใช้วิธีการเจาะสำรวจมากกว่าหนึ่งวิธี โดยวิธีในการเจาะสำรวจดินหลักๆ นั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่:

(1) วิธีการขุดบ่อทดสอบ (TRIAL PITS)
การเก็บตัวอย่างด้วยวิธีนี้ สามารถทำได้เฉพาะในระดับตื้น ๆ ไม่เกิน 6 เมตร ถ้าลึกเกินกว่านั้น อาจไม่สะดวกและไม่เหมาะสมกับการขุดเจาะในที่มีน้ำขังอยู่ เพราะต้องมีการป้องกันการพังทลายของผนังหลุมเจาะ หรือพบปัญหาจากน้ำใต้ดิน ซึ่งจะทำให้การเก็บตัวอย่างด้วยวิธีนี้มีราคาแพงกว่าวิธีการเจาะสำรวจชั้นดินด้วยวิธีอื่น

วิธีการเก็บตัวอย่างดินด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการขุดดินให้เป็นบ่อรอบก้อนดินที่ต้องการเก็บตัวอย่างแล้วแต่งก้อนตัวอย่างให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาด 20 ถึง 30 cm ใช้มีดตัดก้อนดินตัวอย่างนั้นมาแล้วเคลือบด้วยพาราฟีน (PARAFIN) เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นแล้วรีบนำส่งห้องปฏิบัติการทดสอบ ตัวอย่างดินที่ได้จะได้รับการกระทบกระเทือนน้อยกว่าวิธีอื่น

(2) วิธีการเจาะสำรวจชั้นดินด้วยสว่าน (AUGER BORING)
การเก็บตัวอย่างของดินด้วยวิธีการนี้เหมาะสำหรับดินอ่อนหรือดินที่มีความยึดเหนี่ยว (COHESION) วิธีการนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมานานและสะดวกสำหรับการขุดเจาะด้วยการใช้แรงคน (HAND AUGER) ซึ่งขุดเจาะได้ลึกประมาณ 4 ถึง 6 เมตร และถ้าเป็นเครื่องจักร (MECHANICAL AUGER) ก็จะสามารถเจาะดินได้ลึกมากกว่า 10 เมตร วิธีการเก็บตัวอย่างดินจากการเจาะสำรวจดินด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการใช้สว่านหมุนเอาดินออกมา จนได้ระดับความลึกที่ต้องการเก็บตัวอย่าง ซึ่งการที่จะระบุความลึกที่ถูกต้องของตัวอย่างดินทำได้โดยการหยุดเจาะเป็นระยะ เพื่อจำแนกประเภทของดินก้นหลุมที่ติดอยู่ปลายสว่านหรือทำการเก็บตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนของชั้นดินที่ทราบความลึก

ข้อจำกัดของวิธีนี้คือไม่สามารถเจาะต่อไปได้ถ้าพบน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นทรายเพราะไม่มีแรงยึดเหนี่ยวพอที่จะเกาะยึดติดใบสว่านขึ้นมาถึงปากหลุมเจาะได้ รวมทั้งกรณีที่มีชั้นดินอ่อนมากอยู่ใต้ชั้นกรวด ทำให้การเจาะสำรวจต้องสิ้นสุดลงก่อนที่จะพบชั้นดินอ่อนมากข้างใต้ (ดูรูป ตย ที่แสดงการเจาะสำรวจดินโดยใช้ HAND AUGER ประกอบคำอธิบายได้นะครับ)

ในวันพรู่งนี้ผมจะมาอธิบายวิธีในการเจาะสำรวจดินหลักๆ อีก 2 วิธีแก่เพื่อนๆ ต่อนะครับ เพื่อนๆ ท่า่นใดสนใจสามารถติดตามกันต่อได้ในวันพรู่งนี้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ by ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449