ชนิดของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น หรือ TYPES OF SHALLOW FOUNDATION

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายถึง ชนิดของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น หรือ TYPES OF SHALLOW FOUNDATION ประเภทแรกซึ่งได้แก่ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่เดี่ยว หรือ ISOLATED BEARING FOUNDATION ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันไปแล้ววันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงฐานรากแบบตื้นประเภทที่สองก็คือ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ร่วม หรือ COMBINED BEARING FOUNDATION กันต่อนะครับ

 

เราจะนิยมใช้ฐานรากแบบนี้ก็ต่อเมื่อกรณีเมื่อเราใช้ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่เดี่ยว แล้วฐานรากนั้นๆ ถูกจำกัดโดยตำแหน่งของเสา และ แนวเขตของที่ดิน จนอาจทำให้เกิดการเยื้องศูนย์ หรือ ECCENTRICITY ระหว่างจุดศูนย์กลางของ โครงสร้างฐานราก กับ ศูนย์กลางของ โครงสร้างเสา ซึ่งจะทำให้ผลของหน่วยแรงกดบนชั้นดินที่ด้านหนึ่งสูงและอีกด้านหนึ่งต่ำ ยิ่งถ้าหากว่าการเยื้องศูนย์นี้มีค่าที่เพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อเรื่อง เสถียรภาพ หรือ STABILITY ของโครงสร้างฐานรากได้ หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ของเราจะขาดความมั่นคงไป เช่น อาจจะเกิดการพลิกคว่ำได้ อาจจะเกิดการเอียงตัวของโครงสร้างฐานรากได้ อาจจะเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันในฐานรากแต่ละต้นได้ เป็นต้นนะครับ

 

ดังนั้นเมื่อวิศวกรผู้ออกแบบต้องประสบพบเจอกับกรณีของโครงสร้างแบบนี้เข้า ก็อาจจะเลือกทำการแก้ปัญหาๆ นี้โดยการออกแบบให้ตัวโครงสร้างนั้นเกิดการส่งถ่าย แรงกระทำในแนวดิ่ง หรือ AXIAL LOAD และ แรงคู่ควบ หรือ MOMENT LOAD ในแต่ละแกนไปยังฐานรากแบบแผ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันได้ โดยที่หลักการสำคัญในการออกแบบฐานรากประเภทนี้ก็คือ เราจะต้องทำการเชื่อมให้ฐานรากทั้งสองฐานนี้ให้สามารถที่จะส่งถ่ายแรงที่เกิดขึ้นระหว่างกันได้อย่างสมบูรณ์ โดยที่เราอาจจะเลือก ใช้ส่วนของตัวฐานราก หรือ ใช้ส่วนของคานเชื่อม ก็ได้ในการทำหน้าดังกล่าว ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็คือหลักของการทำ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ร่วม นั่นเองครับ

 

สำหรับเทคนิคและวิธีในการพิจารณาว่าฐานรากใดที่เหมาะจะทำเป็นฐานรากประเภทนี้ก็จะค่อนข้างง่ายๆ ตรงไปตรงมาเลยก็คือ หลักการพิจารณานั้นจะตรงกันข้ามกับการพิจารณาใช้ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่เดี่ยว นั่นก็คือ เมื่อคำนวณออกแบบออกมาแล้วเราพบว่าพื้นที่ในการรับน้ำหนักจะมีค่าเกิน 10 ตร.ม/หนึ่งฐานรากแบบแผ่เดี่ยว หรือ มีวิธีคำนวณง่ายๆ อีกหนึ่งอย่างก็คือ พื้นที่ทั้งหมดที่จะใช้ทำการก่อสร้างตัวฐานรากแบบแผ่เดี่ยวเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเกินร้อยละ 50 ของพื้นที่ของอาคาร หากเป็นเช่นนี้เมื่อใดก็ควรที่จะเลือกใช้งาน โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ร่วม ได้แล้วน่ะครับ

 

ในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตพูด ถึงประเภทของฐานรากแบบตื้นประเภทที่ 3 นั่นก็คือ โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ผืนร่วม หรือ MAT BEARING FOUNDATION หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

ปล ผมต้องขอขอบคุณรูปภาพสวยๆ จากอินเทอร์เน็ตที่ผมได้เลือกนำมาใช้ประกอบในการโพสต์ๆ นี้ด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน

#ประเภทของฐานรากแบบตื้นแบบแรก

#โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ร่วม

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com